ข้อเด่น-ข้อด้อย ของงานออกแบบตู้ซับฯชนิดต่างๆ
- วันที่: 21/12/2013 18:25
- จำนวนคนเข้าชม: 12141
ด้วยว่า “ตู้เสียงเบส” นั้น มีแบบและชนิดต่างๆอย่างมากมาย เราไปทำความรู้จักกับตู้เสียงเบสที่มีงานออกแบบกัน เพื่อเรียนรู้ว่ามีชื่อเรียกแบบลักษณะต่างๆนั้นกันอย่างไร และมีข้อเด่น-ข้อด้อยอย่างไร
Sealed/Single Woofer Enclosure
(ตู้เบสแบบปิด/ ติดตั้งดอกลำโพงเพียงดอกเดียวต่อตู้)
Sealed/Dual Woofer Enclosure
(ตู้เบสแบบปิด/ ติดตั้งดอกลำโพง 2 ดอกในตู้ใบเดียวกัน)
เป็นงานออกแบบตู้เบสเพื่อผนึกปริมาตรอากาศเอาไว้ภายในแบบปิดทึบ (คือไม่มีการรั่วไหลใดๆ) เป็นงานออกแบบตู้พื้นฐานและประดิษฐ์ได้โดยง่าย กรณีที่ปริมาณอากาศที่มีอยู่ในกล่องปิดผนึกนี้มีค่าน้อยกว่าค่า Vas ของดอกลำโพง ปริมาณอากาศดังกล่าวจะเป็นสภาพเสียงเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของดอกลำโพง แนะนำให้ใช้กับดอกลำโพงที่มีค่า Qts อยู่ระหว่าง 0.3 ถึง 0.9 และมีค่า Fs ที่ต่ำกว่า 40 Hz
ข้อเด่น:
-สามารถรองรับกำลังขับได้สูง
-ไม่จำเป็นต้องมีความแม่นยำในการกักเก็บปริมาตรอากาศ
-ให้ผลการตอบสนองความถี่ได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ
-โครงสร้างเพื่อการประดิษฐ์ สามารถทำได้ง่าย
ข้อด้อย:
-กินกำลังวัตต์จากเพาเวอร์แอมป์มากกว่า
Ported/Single Woofer Enclosure
(ตู้เบสแบบเปิดท่อ/ ติดตั้งดอกลำโพงดอกเดียวต่อตู้)
Vented/Single Woofer Enclosure
(ตู้เบสแบบเปิดช่อง/ ติดตั้งดอกลำโพงดอกเดียวต่อตู้)
ตู้เบสแบบนี้ มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ อาทิ “ตู้เบสแบบสะท้อนคลื่นเบส”(Bass Reflex), “ตู้เบสแบบปรับพอร์ท”(Tuned Port Enclosures) เป็นตู้ปิดทึบที่ยอมให้มวลอากาศด้านหลังดอกลำโพง ย้อนไปทำปฎิกริยากับมวลอากาศด้านหน้าดอกลำโพง สามารถปรับเปลี่ยนความยาวหรือพื้นที่ของท่อเปิด เพื่อเปลี่ยนความถี่เฉพาะที่เกิดขึ้นในท่อระบายเบสได้ แนะนำให้ใช้กับดอกลำโพงที่มีค่า Qts ระหว่าง 0.1 ถึง 0.4 และมีค่า Fs ต่ำที่ 30 Hz – 40 Hz
ข้อเด่น:
-ให้เสียงเบสได้ต่ำลึก
-มีการเคลื่อนตัวของกรวยดอกลำโพงน้อย เพราะถูกควบคุมโดยคลื่นที่ท่อระบายเบส
ข้อด้อย:
-ต้องใช้ความแม่นยำในการออกแบบขนาดตู้และท่อระบายอย่างถูกต้อง
-ตู้เบสจะสูญเสียการควบคุมดอกลำโพง ในความถี่ที่อยู่ต่ำกว่าความถี่ของท่อระบายเบส
Single Reflex/4th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/ ลำดับ 4 สะท้อนคลื่นแบบเดี่ยว)
Dual Reflex/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/ ลำดับ 6 สะท้อนคลื่นแบบคู่)
Dual Reflex/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/ ลำดับ 6 สะท้อนคลื่นแบบคู่-ขนาน)
Single Reflex/Dual Woofers/4th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/ดอกลำโพงคู่/ ลำดับ 4 สะท้อนคลื่นแบบเดี่ยว)
Dual Reflex/Dual Woofer/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/ดอกลำโพงคู่/ ลำดับ 6 สะท้อนคลื่นแบบคู่-อนุกรม)
เป็นตู้เบสในแบบแบนด์พาส ที่ใช้การสะท้อนคลื่นทั้งแบบเดี่ยวและแบบคู่ ที่สามารถเลือกให้เหมาะกับการประยุกต์ใช้ สำหรับตู้เบสแบบแบนด์พาสนั้น ตัวดอกลำโพงจะถูกติดตั้งเอาไว้ภายในตู้ โดยคลื่นเสียงเบสทั้งหมดจะถูกส่งทอดออกทางท่อระบายของตู้เบสเอง
ข้อเด่น:
-ให้เสียงเบสได้ต่ำลึก
-มีประสิทธิผลสูงในความถี่เป้าหมาย(เฉพาะในช่วงคลื่นเบสที่ออกแบบไว้)
ข้อด้อย:
-เสียงเบสไม่มีความชัดเจน แต่หนักแน่น
-รองรับกำลังขับได้ค่อนข้างต่ำ
-งานออกแบบมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีความซับซ้อนในการออกแบบมาก
Reflex/Isobaric/4th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/2 ดอกประกบ/ ลำดับ 4)
Reflex/Isobaric/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/2 ดอกประกบ/ ลำดับ 6 ท่อแยก)
Reflex/Isobaric/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบบแบนด์พาส/2 ดอกประกบ/ ลำดับ 6 ท่ออนุกรม)
Reflex/Isobaric/4 Woofers/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบนด์พาส/4 ดอกประกบ/ ลำดับ 6 ท่อร่วม)
Reflex/Isobaric/4 Woofers/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบนด์พาส/4 ดอกประกบ/ ลำดับ 6 ท่อแยก)
Reflex/Isobaric/4 Woofers/6th Order Enclosure
(ตู้เบสแบนด์พาส/4 ดอกประกบ/ ลำดับ 6 ท่ออนุกรม)
ตู้เบสแบบดอกประกบ(Isobaric)นั้น โครงสร้างเฉพาะส่วนของการติดตั้งดอกลำโพง จะใช้ด้านหน้ากรวยดอกลำโพงช่วยกันทำงานเป็นเสมือนกรวยลำโพงเดียวกับ สามารถประกบเข้าดัวยกันได้ทั้งแบบหน้าประหน้า, หน้าประกบหลัง และหลังประกบหลัง การใช้หลักของดอกลำโพงประกบกันนี้จะใช้ปริมาตรอากาศเพียงครึ่งเดียวของดอกลำโพงปรกติ เนื่องจากค่า Vas จริงที่เกิดขึ้นจะเหลือเพียงครึ่งเดียวเพราะมีหน้ากรวยเป็นสองเท่า ข้อสำคัญต้องต่อเฟสของดอกลำโพงทั้งสองให้เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะประกบกันในลักษณะใด
ข้อเด่น:
-ให้เสียงเบสได้อย่างหนักแน่น
-ต้องการปริมาตรห้องกักอากาศเพียงครึ่งเดียวจากปริมาตรปกติ
-มีเกนขยายในตัว 3 dB ด้วยพื้นที่เท่าๆกัน
ข้อด้อย:
-ต้องการกำลังวัตต์เพิ่มเป็น 2 เท่า
-ต้องใช้ดอกลำโพง 2 ดอกทำงานร่วมกัน
Seat/Deck Mount
(ติดตั้งดอกลำโพงหลังเบาะ/บนแผงหลัง)
เป็นงานติดตั้งดอกลำโพงเสียงเบสบนแผงทึบ และใช้ปริมาตรของห้องเก็บสัมภาระทำหน้าที่เป็นตู้กับเก็บอากาศ ต้องมีการผนึกแนบให้แน่นหากเพื่อให้งานติดตั้งแบบนี้บรรลุผลทางประสิทธิภาพ แนะนำให้ใช้กับดอกลำโพงที่มีค่า Qts มากกว่า 0.6 และมีค่า Vas ในระดับต่ำกว่าปริมาตรของห้องสัมภาระท้ายรถที่นำมาใช้