• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

งานออกแบบตู้ซับฯ สำหรับรถติดตั้งถังแก๊ส

  • วันที่: 01/02/2014 17:28
  • จำนวนคนเข้าชม: 16323
ปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่มักได้รับการติดตั้งถังแก๊สเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของงานติดตั้งตู้ซับวูฟเฟอร์ในระบบเสียงอยู่บ้าง ในครั้งนี้จะขอนำท่านไปสัมผัสกับแนวทางการออกแบบตู้ซับฯ สำหรับรถติดตั้งถังแก๊สกันนะครับ

 

ภาพพื้นที่เป้าหมายของการออกแบบตู้ซับฯ สำหรับรถติดตั้งถังแก๊ส (บน)ก่อนติด (ล่าง)หลังติด

สำหรับพื้นที่สำหรับการออกแบบตู้ซับฯสำหรับรถติดตั้งถังแก๊สนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายตำแหน่ง ซึ่งในที่นี้เรามีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ไปกินพื้นที่ส่วนวางสัมภาระ จึงมุ่งไปที่บริเวณช่องว่างระหว่างผนังหลังเบาะแถวหลังกับตำแหน่งถังแก๊ส(ตามภาพประกอบ) ซึ่งจะมีความลึกของฐานตู้ซับวูฟเฟอร์อยู่ได้ประมาณ 20 ถึง 25 เซนติเมตร

ในขณะที่ความสูงของตัวตู้ซับฯน่าจะทำได้ในระดับ 28 ถึง 31 เซนติเมตร และมีความกว้างได้ถึง 60 เซนติเมตรขึ้นไป

 

รูปทรงของตู้ซับวูฟเฟอร์ในแนวความคิดนี้

 

ตำแหน่งการติดตั้งที่คาดหวัง สำหรับรถที่มีการติดตังถังแก๊สในห้องสัมภาระ

 

การคำนวณปริมาตรโดยสังเขปพบว่าสามารถออกแบบเป็นตู้ปิดได้ในประมาตรขนาด 0.652 ลบ.ฟุต ด้วยไม้ 12 มม.

เราเลือกที่จะออกแบบเป็นตู้ปิดในเบื้องต้น โดยใช้ไม้ขนาดความหนา 12 มิลลิเมตร วัดสัดส่วนของตู้ได้ที่ขนาดความสูง 28 เซนติเมตร, ความกว้าง 60 เซนติเมตร, ความลึก 20 เซนติเมตร ลักษณะตู้เป็นแบบตู้เหลี่ยมคางหมู ปริมาตรในเบื้องต้น 0.652 ลบ.ฟุต

ในการปฎิบัตงานจริง อาจต้องมีส่วนของการหลบเหลี่ยมมุมอื่นๆอย่างเหมาะสม ปริมาตรที่คาดหวังว่าจะได้จริงจึงน่าจะเป็นที่ประมาณ 0.5 ลบ.ฟุต



ซับฯที่เลือกใช้มีขนาด 10 นิ้ว วอยซ์เดี่ยว 4 โอห์ม EBP = 54 และมี T/S parameter ดังนี้

สำหรับซับฯที่จะนำมาใช้กับตู้ใบนี้ เราเลือกที่มีค่า EBP = 54 เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในแบบตู้ปิด โดยมี T/S parameter ปรากฏในภาพประกอบเรื่อง ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับตู้ที่ออกแบบไว้ จะมีค่า F3 ของตู้อยู่ที่ 62.82 Hz ถือว่าเหมาะสม เพราะตำแหน่งเคบิ้นเกนในบริเวณที่วางตู้น่าจะอยู่ที่ความถี่ประมาณ 65 Hz

 
กราฟแสดงการตอบสนองความถี่ของตู้ที่ออกแบบ กับซับฯที่เลือกใช้ (EBP = 54)

รูปของตู้ต้นแบบที่ทีมงานจัดทำขึ้นเป็นตัวอย่าง

 

กราฟตอบสนองความถี่ของตู้+ซับฯ เมื่อวัดในที่เปิดโล่ง (full range)

 

กราฟตอบสนองความถี่ของตู้+ซับฯ เมื่อติดตั้งจริงในรถ และตัด LPF ที่ประมาณ 90 Hz

ทั้งนี้เพื่อความสมบูรณ์ในการติดตั้ง ควรมีการทำผนังกั้นระหว่างห้องโดยสารและห้องสัมภาระ ในลักษณะของแผงปิดทั้งแก๊ส เพื่อป้องกันการเกิดลักษณะของตู้หลอน หรือเมื่อเปิด-ปิดฝากระโปร่งท้ายรถแล้วมีผลกับเสียงเบส

ปิดถังแก๊ส ป้องกันเบสหลอนจากตู้ที่ติดตั้ง

 

จะเป็นการดีหากสามารถทำพื้นที่ให้เสียงเบส ที่บริเวณพนักพิงของเบาะหลัง จะได้เสียงเบสที่สะอาดขึ้น

นอกจากนั้นบริเวณพนักพิงเบาะหลัง แนะนำให้ทำช่องสำหรับการเดินทางของเสียงเบส หรือหากไม่สามารถทำได้ ให้ทำการเปิดช่องบริเวณแผงลำโพงหลัง ให้มีพื้นที่เปิดโล่งประมาณ 60 ตารางนิ้ว (หน้าซับฯขนาด 10 นิ้ว แนะนำพื้นที่เปิดโล่งเสียงเบสที่ประมาณ 50 ตารางนิ้วขึ้นไป)