• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

WinISD Pro Alpha

  • วันที่: 06/06/2011 18:51
  • จำนวนคนเข้าชม: 25664

ลิขสิทธิ์บทความโดย: Rocket Sound

มาถึงตอนนี้ทางฝั่ง WinISD ก็ได้มีการปรับปรุงโปรแกรมขนานใหญ่ โดยรุ่นที่สมบูรณ์แบบและน่าใช้งาน(และไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ขอเพียงช่วยบริจาคกันบ้างเป็นรุ่น WinISD Pro ALPHA  ให้การใช้งานได้ไกล้เคียงกับ BassBox 6 Pro เพียงแต่เรื่องหน้าตาอาจไม่งดงามเท่า และค่า T/S ของซับฯสำคัญๆหลายตัวไม่มีปรากฏ(ต้องใส่ลงไปเอง) แต่ภาพโดยรวมก็ถือว่ายังน่าใช้งาน เราไปดูกันดีกว่าว่ามันเป็นอย่างไรกันบ้าง
 

 

เริ่มที่เมนูใช้งาน


ก่อนจะเริ่มใช้งาน เรามาดูถึงเมนูใช้งานที่มีอยู่ใน WinISD Pro ALPHA นี้กันก่อน โดยเริ่มที่

File


ในเมนูนี้ ประกอบด้วยเมนูย่อย 

Open Project (Ctrl+O) เพื่อทำการเปิดใช้งานโครงงานที่ได้เก็บเอาไว้แล้วจากการ Save

Save Project (active) เพื่อการทำการจัดเก็บโครงงานเอาไว้ใช้งานภายหลัง

New Project (Ctrl+N) เพื่อทำการเปิดโครงงานใหม่ในการออกแบบตู้ซับฯ

Options (Alt+O) เพื่อปรับเลือกรูปแบบโปรแกรมตามที่ต้องการ

Exit Program (Alt+X) เพื่อเลือกที่จะเลิกใช้งานโปรแกรม หรือออกจากโปรแกรมนั่นเอง


Utilities


ในเมนูนี้ ประกอบด้วยเมนูย่อย

Database Editing (Ctrl+D) เพื่อการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ของดอกซับฯในฐานข้อมูล

Signal Gen (Alt+S) เพื่อเรียกใช้โปรแกรมเครื่องกำเนิดความถี่


Window


ในเมนูนี้ ประกอบด้วยเมนูย่อย

Tile windows เพื่อเลือกให้การเปิดวินโดว์เป็นแบบแยกเป็นช่องๆวางต่อกัน

Cascade windows เพื่อเลือกให้การเปิดวินโดว์เป็นแบบซ้อนกันเป็นขั้นๆ

Toolbar เพื่อเลือกแบบแสดงเมนูที่เป็นรูปไอคอนในลักษณะต่างๆ

Desktop เพื่อเลือกเก็บรูปแบบที่เลือกไว้ใช้งานในครั้งต่อๆไป


Help


ในเมนูนี้ ประกอบด้วยเมนูย่อย

Contents เพื่อแสดงคู่มือการช่วยเหลือในการใช้โปรแกรม

Getting started เพื่อแสดงขั้นตอนเริ่มต้นของการใช้โปรแกรมแบบสังเขป

Online เพื่อตรวจสอบการปรับปรุงโปรแกรม และเยี่ยมชมเว็บไซด์ของผู้ออกแบบโปรแกรม

About เพื่อแสดงรายละเอียดต่างๆของโปรแกรม


และนอกจากเมนูพื้นฐานแล้ว ใน WinISD Pro ALPHA ยังมีเมนูเสริมที่เป็นรูปไอคอนในแถบชายล่างให้เลือกใช้ได้อีกดังนี้



เริ่มแรกใช้งาน


สำหรับการใช้งานโปรแกรม หลังจากทำการติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีขั้นตอนการใช้งาน โดยตั้งโครงงานภายใต้สมมุติฐานว่า เราจะใช้ข้อมูล T/S Parameter ที่มีมาให้ในฐานข้อมูล มาทำการออกแบบ/วิเคราะห์ตู้ซับฯกัน โดยใช้ข้อมูลของดอกซับฯ  Image Dynamics ID 10 4 ซึ่งเป็นซับ 10 นิ้ว วอยซ์เดี่ยว 4 โอห์ม

ก่อนอื่นก็ให้คลิ๊กที่ New Project ก็จะได้หน้าเมนูย่อยบนจอเป็นดังภาพ



ให้ท่านคลิ๊กที่ลูกศรชี้ลงตางมุมหน้าต่าง Driver name เพื่อสกอร์เลือกข้อมูลซับฯ Image Dynamics ID 10 4 จากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม Next-> เพื่อย้ายหน้าต่างเป็นหน้าต่างถัดไป ดังภาพ


  


ในกรณีนี้เราใช้งานดอกซับฯ 1 ดอกกับตู้ 1 ใบ และติดตั้งดอกซับฯในแบบปกติ ดังนั้นในช่อง Drivers จะเป็นเลข 1 และที่ตำแหน่ง Placement จะมีมาร์กที่ Normal เมื่อเรียบร้อยให้คล๊กที่ปุ่ม Next-> จะได้ภาพต่อไป


  


หน้าต่างต่อไปจะแสดงค่า EBP ของดอกซับฯ ซึ่งเท่ากับ 63.8 ซึ่งโปรแกรมก็จะแนะนำให้ใช้งานกับแบบตู้เป็นแบบตู้เปิด(มีท่อระบายเบส) หรือแสดงในช่อง Box Type เป็น Vented หากต้องการใช้งานเป็นตู้แบบอื่นๆสามารถคลิ๊กเลือกได้ ซึ่งกรณีนี้เราต้องการใช้งานเป็นตู้แบบเปิด ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Next-> เพื่อชมภาพต่อไป


  


หลังจากคลิ๊กที่ปุ่ม Next-> แล้วจะปรากฏเป็นหน้าต่างให้เลือก Alignment การตอบสนองรูปคลื่นตู้ซับฯ โดยปกติระบบจะตั้งให้อัตโนมัติตามความเหมาะสม แต่หากต้องการเปลี่ยนแปลง ก็สามารถคลิ๊กเลือกที่ลูกศรชี้ลงได้ ดังภาพ



เมื่อเรียบร้อยแล้วให้คลิ๊กที่ Finsh-> เพื่อออกจากส่วนของการสร้างโครงงาน และแสดงเป็นหน้าต่างโครงงานที่สมบูรณ์


  


ซึ่งหากต้องการดูในส่วนของค่า T/S Parameter ประกอบไปด้วย ให้คลิ๊กที่ Parameters ก็จะปรากฏค่าต่างๆของพารามิเตอร์แสดงขึ้นมา ดังภาพ

และเมื่อคลิ๊กที่เมนูย่อย เราจะได้เห็นองค์ประกอบต่างๆของตู้ได้อย่างครบถ้วนดังนี้
 

Box



ระบบจะออกแบบปริมาตรตู้เบื้องต้นสุทธิเป็น 3.572 ลบ.ฟุต โดยตั้งความถี่ที่ท่อระบายเบสเอาไว้ที่ 28.15 Hz โดยปริมาตรที่ปรากฏเป็นปริมาตรสุทธิ ยังไม่ได้บวกรวมปริมาตรของดอกซับฯ (เนื่องจากในฐานข้อมูลของโปรแกรม ยังไม่ได้มีการใส่มิติของดอกซับฯเอาไว้ให้)


Vent



ระบบออกแบบท่อ โดยใช้ท่อทรงกลม 1 ท่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ 4.02 นิ้ว ความยาวท่อ 9.07 นิ้ว 


Plot



ในหน้าต่างการ Plot เราสามารถตั้งอุณหภูมิใช้งานของตู้ได้ โดยในตัวอย่างตั้งไว้ที่ 32 องศา C พร้อมกับสามารถคลิ๊กเลือกสีของเส้นกราฟ(ในตัวอย่างเลือกสีแดง) และความหนาของเส้นกราฟได้(ในตัวอย่างเลือกความหนาของเส้นที่ 4)


Signal



ในหน้าต่าง Signal เราสามารถตั้งค่าวัตต์อินพุท ที่จะป้อนขับดอกซับฯได้ ในตัวอย่างเลือกใช้ที่ 1 วัตต์ 


EQ/Filter



เป็นหน้าต่างที่เราสามารถใส่ค่าตัดแบ่งความถี่(ครอสโอเวอร์) หรือการปรับแต่งรูปทรงเสียงอื่นๆเข้าไปในการจำลอง เพื่อดูผลของกราฟการตอบสนองความถี่(จะพูดถึงในโอกาสต่อไป)


Project



เป็นหน้าต่างเพื่อใส่รายละเอียดของโครงงาน เพื่อใช้อ้างอิงได้ในอนาคต


การวิเคราะห์ผล


จริงๆแล้วในแง่การใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์/ออกแบบตู้ซับฯ ทั้ง BassBox 6 Pro และ WinISD Pro ALPHA จะเป็นเรื่องของการจำลองสภาพใช้งานระหว่างดอกซับฯกับตู้ซับฯ หรือเป็นการลองตีตู้บนโปรแกรม เพื่อให้ได้รูปคลื่นกราฟเสียงเบสตามที่เราต้องการนั่นเอง



สำหรับการวิเคราะห์ผลใน WinISD Pro ALPHA นั้น มีการฟังค์ชั่นเป็นส่วนๆประกอบกันดังนี้

System overall (วิเคราะห์ผลทั้งหมดของระบบ)

Transfer function magnitude 
 (กราฟความสัมพันธ์ของเกนขยาย dB ที่จุดจำกัดของประสิทธิภาพดอกซับฯ)

Transfer function phase

(กราฟแสดงความแตกต่างของเฟสระหว่างสัญญาณไฟฟ้าขาเข้า และสัญญาณเสียงขาออก)

Group Delay

(กราฟแสดงระยะเวลาหน่วงของเสียงที่ความถี่ต่างๆ)

Maximum Power

(กราฟแสดงกำลังที่รับได้สูงสุดของดอกซับฯ ในแต่ละความถี่)

Maximum SPL

(กราฟแสดงร่วมของระดับความดัง และระดับกำลังสูงสุด)

Amplifier apparent load power(VA)

SPL

(กราฟแสดงความดังเสียง ตามระยะทางที่ระบุ ด้วยกำลังวัตต์ตามกำหนด ที่มุมกระจายเสียงครึ่งหนึ่ง)

Driver (วิเคราะห์ผลเฉพาะส่วนดอกซับฯ)

Cone excursion

(กราฟแสดงการเคลื่อนตัวของกรวย ที่ความถี่ต่างๆ)

Impedance

(กราฟแสดงค่าอิมพีแดนซ์วอยซ์ ที่ความถี่ต่างๆ)

Impedance phase

(กราฟแสดงค่าอิมพีแดนซ์ ที่เฟสต่างกัน)

Passive radiator (วิเคราะห์ผลในส่วนของกรวยช่วยกระจายเสียง)

Transfer function magnitude (PR)

Transfer function phase (PR)

Cone excursion (PR)

Rear port (วิเคราะห์ผลในส่วนของท่อระบายเบส ตู้ใบหลัง)

Rear port – Air velocity

Rear port – Gain

Front port (วิเคราะห์ผลในส่วนของท่อระบายเบส ตู้ใบหน้า)

Front port – Air velocity

Front port – Gain

Filter/Equalizer (วิเคราะห์ผลในส่วนของการคัดกรองความถี่ และการปรับชดเชยความถี่)

Transfer function magnitude (EQ/Filter)

Transfer function phase (EQ/Filter)

Group Delay (EQ/Filter)


ข้อมูล Thiele/Small หมายถึงอะไร


ค่าปัจจัย Thiele / Small คือรายละเอียดของค่าคงที่หลักๆของดอกซับฯที่ใช้อ้างอิงเพื่อช่วยในการคำนวณ เป็นผลผลิตของชาวออสเตรเลีย 2 ท่าน นามว่า A.N. Thiele และ Richard Small ที่กำหนดขึ้นเมื่อช่วงปลายยุค ‘60’s และต้นยุค ‘70’s เพื่อใช้ประยุกต์งานสังเคราะห์หลักการของการออกแบบตู้บรรจุดอกซับฯ ที่ก่อนหน้านั้นยังต้องใช้กระบวนการของการทดลอง และมีข้อผิดพลาด และใช้บางส่วนของกฏหัวแม่มือ



ทั้งสองบันทึกค่านี้ได้โดยการจัดความเท่าเทียมกันของดอกซับฯในกล่องบรรจุ ที่มีอีเล็คโทรนิคส์กลั่นกรองเพื่อผ่านเสียงต่ำและสูง อันทำให้เกิดค่าปัจจัยต่างๆเพื่องานออกแบบลำโพง รวมไปถึงงานออกแบบตู้บรรจุดอกลำโพง ปัจจุบันค่า Thiele / Small ได้กลายเป็นค่าปัจจัยสำคัญของงานออกแบบตู้ เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

สำหรับรายละเอียดของค่าปัจจัยต่างๆก็มีนิยามดังต่อไปนี้


Thiele/Small – Parameters section

Qes

ค่า Q ทางไฟฟ้า (หรือ การยั้งตัว) ค่าที่ต่ำกว่าหมายถึงมีการยับยั้งตัวได้สูงกว่า 

Qms

ค่า Q ทางเชิงกล (หรือ การยั้งตัว) ค่าที่ต่ำกว่าหมายถึงมีการยับยั้งตัวได้สูงกว่า

Qts

ผลทางของการยั้งตัวทั้งสอง (ค่าคู่ขนานร่วมของ Qms และ Qes)

Vas

ปริมาตรสมมูลของอากาศ ที่ Cms

Fs

ความถี่รีโซแนนท์ของดอกลำโพงที่อากาศอิสระ


Electro – Mechanical parameter section

Mms

มวลเชิงกลของส่วนประกอบที่มีการสะเทือนได้ของดอกลำโพง รวมกับมวลอากาศ

Cms

การผ่อนปรนของดอกลำโพง (ผกผันกับค่าความฝืดของสปริง)

Rms
 การยั้งตัวเชิงกล เป็นค่าของการยั้งตัวเชิงกลต่อแผ่นหน้ากรวย รวมถึงส่วนที่มีแรงต้าน Rms สามารถเทียบได้กับ Rme และ Rms มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับ Qms ค่า Qms ที่ใหญ่กว่าจะใช้ค่า Rms ที่เล็กกว่า 

Re

ความต้านทานไฟตรงของวอยซ์คอยล์

BL

ค่าการเหนี่ยวนำแม่เหล็กที่ตัดกันกับความยาวลวดในช่องว่างอากาศ

Dd

เส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นกรวย

Le

ค่าเหนี่ยวนำของวอยซ์คอยล์

Sd

พื้นที่ผิวหน้าของแผ่นกรวย

fLe

ความถี่ที่ Le และ Kle ที่เป็นค่าแน่นอน

Kle

ค่ากึงเหนี่ยวนำของวอยซ์คอยล์ หน่วยเป็น Hz(เฮิร์ท)


Large – Signal Paramter section


Xmax

ค่าการเคลื่อนตัวที่เป็นเชิงเส้นสูงสุดของดอกลำโพง ปกติจะใช้คำนวณจาก abs(Hc-Hg)/2 และบางครั้งก็เป็นการคูณด้วยค่าปัจจัย (1.15 หรือ 0.87 ขึ้นอยู่กับว่าจะรับความคลาดเคลื่อนได้เท่าไหร่

Xlim

ค่ากำหนดความเสียหายในการเคลื่อนตัว หรือค่าสูงสุด

Hc

ความสูงของวอยซ์คอยล์

Hg

ความสูงของช่องว่างอากาศ

Vd
 ปริมาตรของการเคลื่อนที่ ว่ามีอากาศมากเท่าใดที่หน้ากรวยลำโพงสามารถผลักออกมาได้ในขอบเขตที่เป็นเชิงเส้น

Pe

ขีดจำกัดทางความร้อนสูงสุด ที่รองรับกำลังทางไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง 


Miscellaneous parameters section


no

ค่าประสิทธิผล (n เป็นอักษรแทนในภาษากรีก) มีหน่วยเป็น %(เปอร์เซนต์)

Znom

อิมพีแดนซ์ปกติของดอกลำโพง

USPL

ประสิทธิผลในหน่วยเดซิเบล โดยการวัดเป็น dB per 2.83 Volt

SPL

ประสิทธิผลในหน่วยเดซิเบล โดยการวัดเป็น dB per Watt

Voicecoils
 เป็นค่ากำหนดจำนวนวอยซ์คอยล์ ที่บ่งบอกว่าจะใช้จำนวนวอยซ์กี่วอยซ์ ปกติดอกซับฯ SVC จะมีวอยซ์คอยล์ 1 ชุด ส่วน DVC จะมีวอยซ์คอยล์ 2 ชุด


หามาใช้ได้ที่ไหน
 

สำหรับท่านที่ต้องการนำเอา WinISD Pro ALPHA มาใช้งานนั้น สามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซด์ http://www.linearteam.dk/ แล้วคลิ๊กไปที่หมวด Downloads ที่ WinISD Pro หลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนการดาวน์โหลดของแต่ละ IE จนได้ไฟล์หลักชื่อ winisdalpha.exe



ต่อจากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไฟล์ winisdalpha.exe ที่ได้เซฟเก็บไว้แล้วในฮาร์ดดิสค์ เพื่อติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน



จากนั้นให้ทำการติดตั้งตามขั้นตอนที่แจ้งบอกไว้ในโปรแกรมจนเสร็จเรียบร้อย





เมื่อติดตั้งเรียบร้อย ให้ลองเข้าไปเช็คในส่วนของ Start > All program ก็จะปรากฏชื่อโปรแกรม WinISD Pro [alpha] ในเมนูโปรแกรม ซึ่งเราสามารถเรียกมาใช้งานได้เลยครับ 

ลิขสิทธิ์บทความโดย: Rocket Sound