• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

เราจะทำการออกแบบตู้ได้อย่างไร?

  • วันที่: 13/07/2010 17:04
  • จำนวนคนเข้าชม: 160568
A1)  เราจะทำการออกแบบตู้ได้อย่างไร?

    ก่อนที่จะตกลงใจกับเรื่องขนาดของตู้บรรจุ เราควรจะรู้ให้ได้ก่อนว่าตู้ในรูปแบบใดที่ทำเสียงเบสได้อย่างที่เราต้องการ คัดเลือกวัสดุเพื่อนำมาใช้ออกแบบตู้ ตามโครงสร้างวัสดุพื้นฐานดังต่อไปนี้
1.Particle Board:  ราคาค่อนข้างสูง, แต่ก็เป็นวัสดุที่ทนแรงเค้นของซับวูฟเฟอร์ได้ดี และอ่อนตัวได้เร็วกับความเปียกชื้น
ข้อเสีย!: ไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับตู้ซับที่มีขนาดใหญ่มาก เว้นแต่จะทำการดามส่วนต่างๆของมุมภายในตู้ได้อย่างแน่นหนาพอ
2.Medium or High Density Fiber Board(MDF): เป็นวัสดุที่มีผลดีโดยรวมทั้งหมดสำหรับการนำมาออกแบบตู้ลำโพง, ไฟเบอร์บอร์ดให้ความแกร่งได้ดีที่สุด และไม่เกิดการแยกตัวออกเมื่อมีแรงดันคลื่นเบสที่สูงมากๆ
3.Plywood: เป็นวัสดุที่ไม่ควรเลือกใช้สำหรับออกแบบตู้ซับวูฟเฟอร์สำหรับรถยนต์อย่างยิ่ง ไม้พลายวูดนั้นมีโอกาสแยกออกเป็นชิ้นๆได้เมื่อเกิดความร้อนและความเปียกชื้น ซึ่งเป็นปกติสำหรับรถยนต์ นอกจากนี่ยังอาจทำให้เกิดเสียงแปลกๆที่ความถี่ต่ำได้ เมื่อเร่งเสียงเบสในระดับความดังสูงๆ





    การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบตู้มักจะขึ้นอยู่กับเรื่องของราคาต้นทุน, ความยากง่ายในการจัดหา และรูปลักษณ์ภายนอกที่ต้องการเมื่องานเสร็จ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ควรซื้อไม้ที่ผิวสวยหากต้องการหุ้มพรมตู้เมื่องานแล้วเสร็จ ความหนาของวัสดุไม้เพื่อออกแบบตู้ซับจะมีขนาดรวมตามขนาดตู้ ตู้ที่มีขนาดเล็ก (1.0 ลูกบาศก์ฟุต หรือน้อยกว่านั้น) สามารถใช้ไม้ความหนา 5/8 นิ้ว หรือ ½ นิ้ว ตู้ขนาดปานกลาง(1.0 ลูกบาศก์ฟุต ถึง 4.0 ลูกบาศก์ฟุต) ใช้ไม้ควมหนา ¾ นิ้ว สำหรับตู้ซับขนาดใหญ่(มากกว่า 4.0 ลูกบาศก์ฟุต ขึ้นไป) ควรใช้ไม้ความหนา 1 นิ้ว พร้อมดามกระดูกงูเพื่อป้องกันไม้ตู้เกิดการกระพือ

    ถึงแม้ว่าจะมีหลากหลายวิธีที่ใช้สำหรับการผนึกมุมต่างๆของตัวตู้เข้าด้วยกัน แต่วิธีพื้นฐานในการผนึกรอยต่อแบบทาบโดยตรงหรือชนมุมเหลี่ยม 45 องศาดูจะเหมาะสมมากที่สุดสำหรับงานออกแบบตู้ซับวูฟเฟอร์ เมื่อผนึกด้วยกาวงานไม้ อาทิ Titebond หรือกาวไม้ Elmer’s และยึดซ้ำด้วยสกรู จะทำให้การผนึกแนบมีความแข็งแรงมากกว่าความแกร่งของไม้เองด้วยซ้ำ หากต้องการความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นสามารถเพิ่มการประกบหน้าไม้ความหนา 1 นิ้วเข้าไปที่มุมทุกมุมภายในตู้ ซึ่งทำให้ช่วยป้องกันอากาศรั่วของตู้ได้มากยิ่งขึ้นด้วย
 













A2) วัสดุยับยั้งภายในตู้

    สำหรับการเพิ่มวัสดุยับยั้งภายในตู้ ซึ่งมักเป็นวัสดุจำพวกขนสัตว์, ไฟเบอร์กลาส หรือใยโพลีเอสเตอร์(แบบเดียวกับที่ใช้ยัดใส่ในหมอนหนุนต่างๆ) เพื่อช่วยในการหักล้างคลื่นสั่นค้างหรือรีโซแนนท์ ภายในตู้ซับวูฟเฟอร์ ที่เกิดจากสัดส่วนหรือมิติของทรงตู้ที่ผิดธรรมดา เรามักแนะนำให้ต้องเพิ่มใยเหล่านี้เมื่อมีความจำเป็นจริงๆ และแนะนำให้ใช้กับตู้แบบปิดเท่านั้น จริงๆแล้วมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขความผิดพลาดในงานออกแบบตู้หรือใช้แก้ข้อผิดพลาดในกรณีปริมาตรตู้เล็กเกินไป แต่มันเพียงช่วยให้การผลิตคลื่นในช่วงความถี่ต่ำให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น มีความเป็นไปได้สำหรับซับวูฟเฟอร์ที่ติดตั้งลงไปในตู้ที่มีวัสดุยับยั้งนั้น จะมองเห็นปริมาตรตู้ที่ใหญ่กว่าความเป็นจริง ซึ่งอาจสร้างปริมาตรตู้จำลองได้มากถึง 75% โดยกฏมาตรฐานทั่วไปจะใช้หลักการบรรจุใยดังกล่าวเอาไว้ที่ 1 ปอนด์ต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต
    โดยทั่วไปแล้ว ท่านสามารถแปรเปลี่ยนปริมาณของใยได้ โดยอาศัยความเหมาะสมลงตัวในแง่รสนิยมของท่านเอง ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนเสียงจากตู้ซับแบบปิดบ้างเล็กน้อย ให้ลองบรรจุใยยับยั้งภายในตู้ด้วยการเริ่มต้นที่ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มปริมาตรตู้จำลองได้อีก 75% กรณีที่ท่านต้องการสร้างเสียงเพิ่มจากตู้ปกติ หลักการทำงานของใยยับยั้งก็คือการกักเก็บคลื่นเสียงเอาไว้รอบๆตัวมัน ทำให้คลื่นเดินทางช้าลง และมองเห็นผนังของตู้แต่ละด้านได้ไกลออกไป โดยมักสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนปริมาตรตู้ต่อการตอบสนองได้มากกว่า 15% ด้วยหลักการนี้



A3) ข้อแนะนำในการคำนวณปริมาตรตู้


   

การคำนวณปริมาตรของตู้รูปทรงต่างๆที่มีหน่วยเป็นลูกบาศก์ฟุต โดยใส่ค่าแต่ละด้านในหน่วยนิ้ว มีดังต่อไปนี้
-รูปทรงเหลี่ยมจตุรัส Square (H X W X D) ÷ 1,728
-รูปทรงเหลี่ยมผืนผ้า Rectangle (H X W X D) ÷ 1,728
-รูปทรงเหลี่ยมด้านไม่เท่า Wedge ((D1 + D2) X 0.5 X H X W) ÷ 1,728
-รูปทรงเหลี่ยมคางหมู Trapezoid ((D1 + D2) X 0.5 X H X W) ÷ 1,728
-รูปทรงสามเหลี่ยม Triangle ((0.5 X B) X H X W) ÷ 1,728
-รูปทรงเหลี่ยมด้านขนาน Parallelogram (H X W X D) ÷ 1,728
-รูปทรงกลม Cylinder ((3.14 X r X r) X L) ÷ 1,728
    โดยกำหนดอักษรต่างๆในสมการ ที่แทนค่าเอาไว้ดังนี้
H= Height (ด้านสูง)
W= Width (ด้านกว้าง)
D=Depth (ด้านลึก)
D1 = Top Depth (ด้านลึกบน)
D2 = Bottom Depth (ด้านลึกล่าง)
B= Base (ด้านฐาน)
L= Length (ด้านยาว)
r= Radius (รัศมี)



A4) สูตรคำนวณปริมาตรเฉพาะของดอกซับวูฟเฟอร์



   


ด้วยความแตกต่างกันในงานออกแบบและวัสดุ ที่ใช้ผลิตซับวูฟเฟอร์ของแต่ละผู้ผลิตที่ไม่เหมือนกัน สูตรสำหรับคำนวณปริมาตรเฉพาะของดอกซับวูฟเฟอร์นี้อาจไม่แม่นยำ 100% แต่ก็สามารถใช้คาดคะเนได้ดีกว่าการค้นหาปริมาตรด้วยวิธีการอื่น
    ปริมาตรเฉพาะของดอกซับ(Speaker Displacement = 4 x 0.33 x 3.14 x (ระยะจากขอบของซับฯจนถึงท้ายแม่เหล็กลำโพง)^3 x 0.5 x 0.6
    จากตัวอย่างของซับฯยี่ห้อหนึ่ง ที่มีระยะจากขอบของซับฯจนถึงท้ายแม่เหล็ก = 6.03 นิ้ว
    แทนค่าในสูตรได้เป็น 4 x 0.33 x 3.14 x 6.03^3 x 0.5 x 0.6 = 273 ลูกบาศก์นิ้ว หรือ 0.16 ลูกบาศก์ฟุต คือค่าปริมาตรเฉพาะของดอกซับตัวนี้
หมายเหตุ: สูตรที่ใช้คำนวณนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้มากถึง 25% กรณีที่ในใบคู่มือของซับวูฟเฟอร์ได้บอกค่านี้มาให้แล้ว ให้ใช้ค่าที่ได้จากใบคู่มือเป็นหลัก



A5) สูตรคำนวณปริมาตรเฉพาะของท่อระบายเบส




    สำหรับสูตรที่ใช้เพื่อการคำนวณปริมาตรเฉพาะของท่อระบายเบส ก็มีด้วยกันดังนี้
    ปริมาตรเฉพาะของท่อระบายเบส = (1/2 ของขนาดด้านนอก x 2) x 3.14 x ความยาวของท่อ
    ตัวอย่างเช่น ท่อขนาด 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว ที่มักจะมีขนาดด้านนอกท่อเป็น 4.5 นิ้ว ก็จะได้การแทนค่าในสูตรเป็นดังนี้คือ 2.25 x 2.25 x 3.14 x 5.0 = 78.46 ลูกบาศก์นิ้ว
    หรือสามารถใช้ค่าเฉลี่ยมาตรฐานจากตารางด้านล่างนี้ก็ได้ครับ