เทคนิคและเคล็ดลับ ในการทำระบบเสียงเพื่อความดัง SPL
- วันที่: 22/08/2014 17:25
- จำนวนคนเข้าชม: 10527
1.ใช้เพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังวัตต์สูงกว่า ก็มิได้หมายความว่าจะได้ความดัง SPL เพิ่มมากขึ้น
2.ตู้กักอากาศเพื่อติดตั้งดอกซับฯที่ใหญ่มากๆ มิได้หมายถึงความดัง SPL มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใช้กับเพาเวอร์แอมป์กำลังขับไม่สูง
3.การได้มาซึ่งความดัง SPL สูงๆในยานพาหนะ มักเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อเลือกใช้คลื่นที่ตรงกับ “คลื่นสะท้อน” ในยานพาหนะคันนั้นๆ
4.การเปิดบานประตูอ้าออก หรือลดระดับกระจกลง ไม่เสมอไปที่จะทำให้ได้ความดัง SPL สูงขึ้น
5.การปรับเกนขยายในแอมป์จนเกินพอดี มักทำให้ระดับความดัง SPL ไม่คงที่
6.ท่อระบายเบสที่เป็นท่อกลม PVC มักให้ความดัง SPL ได้ดีกว่า แต่ก็ไม่เสมอไป
7.การค้ำยันภายในตู้กักอากาศ ควรเลือกใช้วัสดุที่มีลักษณะแกนเป็นเกลียว จะทำให้เกิดสภาพแปรปรวนของอากาศน้อยกว่าการใช้ไม้
8.ปิดมุมทุกด้านภายในตู้กักอากาศ อย่าให้มีสภาพเป็นเหลี่ยมมุม โดยเฉพาะผนังด้านที่อยู่ท้ายแม่เหล็กดอกซับฯ จะทำให้อากาศมีแรงดันเพิ่มขึ้น
9.สภาพอากาศที่แตกต่าง และอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป จะมีผลโดยตรงกับความดัง SPL และความถี่ที่พุ่งขึ้นสูงสุดในย่านความถี่ต่ำเปลี่ยนไป
10.การปิดช่องระบายอากาศภายในห้องโดยสาร อาจช่วยทำให้ได้ระดับความดัง SPL เพิ่มขึ้นในบางกรณี
11.การเคลือบผิวภายในของตู้กักอากาศ ด้วยวัสดุประเภทเรซิ่น-ไฟเบอร์ มีส่วนช่วยทำให้ได้ความดัง SPL เพิ่มขึ้น
12.การติดตั้งตู้กักอากาศให้อยู่ชิดผนังด้านหน้า หรือผนังด้านหลังของยานพาหนะ มีส่วนทำให้ได้ระดับความดัง SPL เพิ่มขึ้น
13.การกลับขั้วสายลำโพงที่ดอกซับฯ อาจทำให้ได้ความดัง SPL เพิ่มขึ้นในบางกรณี
14.เมื่อต้องมีการทดสอบระบบ ควรรอให้ดอกซับฯลดระดับความร้อนจนถึงจุดเย็นตัว ก่อนทำการทดสอบในแต่ละรอบ
15.การเปิดเล่นเพลงในระบบ ก่อนทำการวัดค่าความดัง SPL มักจะทำให้ได้ระดับความดัง SPL ไม่ดีพอ
16.เมื่อทำการวัดค่าความดัง SPL ให้เลือกเล่นแทรก หรือเพลง หรือเสียงสัญญาณ ที่มีคลื่นตรงกับความถี่ที่พุ่งขึ้นสูงสุดในระบบ
17.ลดระยะของสายลำโพงจากแอมป์ไปถึงดอกซับฯ ให้สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อช่วยให้เกิดกระแสตกค้างน้อยที่สุด
18.ทดสอบหรือวัดค่าระบบ ด้วยเครื่องมือวัดที่มีมาตรฐานสูง
19.การมีพวกพ้องมาคอยช่วยให้กำลังใจมากๆ มิได้หมายถึงว่าจะได้ความดัง SPL เพิ่มขึ้น
20.ไดชาร์จในรถยนต์ทั่วๆไป จะให้กำลังไฟได้มากที่สุด ที่รอบเครื่องระหว่าง 1500 ถึง 2200 รอบต่อนาที
21.การติดตั้งแผ่นไม้ที่ผนังด้านหลังของยานพาหนะ จะช่วยสร้างพื้นผิวสะท้อนเสียงที่ดี แต่ไม่แน่เสมอไปว่าจะทำให้ความดัง SPL สูงขึ้น
22.การเพิ่มเติมวัสดุภายในห้องโดยสาร ที่รู้สึกเสมือนว่า “ทำให้ได้พื้นที่อากาศเพิ่มขึ้น” อาจไม่ได้ช่วยให้ความดัง SPL สูงขึ้น
23.กรณีที่เพาเวอร์แอมป์ มีตำแหน่งปรับเพิ่ม/ลดเสียงเบส หากไม่ต่อหรือทำบายพาสได้เลยยิ่งดี เพราะปกติจะลดกำลังขับลงไปประมาณ 15 ถึง 60 วัตต์
24.สำหรับระบบเสียงที่เลือกใช้แอมป์กำลังขับน้อย ควรเลือกใช้ดอกซับฯที่มีความไวสูงๆ (high efficiency) เพราะจะใช้กำลังขับเพียงน้อยในการขยับกรวยดอกซับฯ
25.ต้องให้มั่นใจได้ว่าทุกๆรอยต่อของผนังแต่ละด้านของตู้กักอากาศ จะไม่มีรอยรั่วหรือรูตามดให้อากาศรั่วไหลได้
26.ต้องศึกษาหาความรู้ด้วยว่า ความถี่มีการเปลี่ยนไปอย่างไรในสภาพอากาศแต่ละแบบ โดยมีการวางแผนล่วงหน้าสำหรับสภาพอากาศร้อน, สภาพอากาศเย็น, สภาพอากาศเปียกชื้น รวมถึงสภาพอื่นๆในระหว่างนี้
27.ในการออกแบบตู้กักอากาศด้านหลังเบาะที่นั่ง ควรเน้นให้ด้านที่เป็นดอกซับฯอยู่ตรงตำแหน่งเบาะด้านผู้โดยสาร และด้านที่เป็นท่อระบายเบสอยู่ตรงตำแหน่งเบาะผู้ขับขี่
28.จงจำไว้เสมอว่า วัสดุทุกๆชนิดภายในห้องโดยสาร มีผลต่อระดับความดัง SPL เสมอ
29.การมีรถที่สวยสะดุดตา ติดฟิล์มกันความร้อนอย่างดี และมีล้อขนาดใหญ่ ไม่ได้ช่วยให้ความดัง SPL มากขึ้น
30.ไม่ควรปรามาสระบบในรถคันอื่น ที่แม้จะดูเหมือนติดตั้งมาไม่เรียบร้อย เพราะอาจทำความดัง SPL ได้มากกว่าคุณ!