• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

ออกแบบตู้ซับฯแบบเปิด 8 นิ้ว สำหรับวางด้านหน้า

  • วันที่: 06/06/2011 18:48
  • จำนวนคนเข้าชม: 45925

ลิขสิทธิ์บทความโดย: Rocket Sound

เอาละครับ
 เราจะไปออกแบบตู้ซับฯขนาดเขื่องๆ เพื่อให้สามารถจัดวางไว้ด้านหน้าห้องโดยสารกันนะครับ โดยเลือกใช้ซับฯขนาด 8 นิ้ว ในรหัสรุ่น 8 R ที่มี T/S Parameter ดังต่อไปนี้ครับ

 

Vas Delta Mass completed: Tue Nov 16 14:20:20 2010

Drive level 23.02% [732.43 uA]

;------------------------------------------------------------------

Re         =    3.8200 ohms

Fs         =   69.5473 Hz

Zmax       =   25.0223 ohms

Qes        =    0.8779

Qms        =    4.8726

Qts        =    0.7439

Le         =    0.4187 mH  (at 1 kHz)

Diam       =  167.0000 mm  (  6.5748 in  )

Sd         =21903.9675 mm^2( 33.9512 in^2)

Vas        =   16.6993 L   (  0.5897 ft^3)

BL         =    6.3751 N/A

Mms        =   21.3743 g

Cms        =  245.0130 uM/N

Kms        = 4081.4163 N/M

Rms        =    1.9169 R mechanical

Efficiency =    0.6012 % 

Sensitivity=   89.8084 dB @1W/1m

Sensitivity=   93.0187 dB @2.83Vrms/1m

Krm        =  49.690E-06 ohms     Freq dependent resistance

Erm        =   1.142E+00          Rem=Krm*(2*pi*f)^Erm  

Kxm        =   5.340E-03 Henries  Freq dependent reactance 

Exm        = 719.254E-03          Xem=Kxm*(2*pi*f)^Exm  

;------------------------------------------------------------------

Ftest                   =    44.859 Hz

Ftest/Fms               =    0.6450

Test Mass used          =   30.0000 g (Equal to 6.0 nickels)

Test Mass (Ft=Fms*0.90) =     5.014 g (Add -24.986g for Ft=62.593)

Test Mass (Ft=Fms*0.75) =    16.624 g (Add -13.376g for Ft=52.160)

 

เมื่อได้ค่า T/S Parameter ของดอกซับฯมาแล้ว เราก็นำไปป้อนเข้าโปรฯ BassBox 6 Pro เพื่อสังเกตุแนวทางการออกแบบตู้กันครับ ดังภาพที่ 1 โดยค่า EBP ที่ได้คือ 79 ถือเป็นดอกซับฯที่เล่นได้ทั้งตู้แบบปิด และตู้แบบเปิด (ค่า EBP ของดอกซับฯที่ใช้ได้ทั้งตู้ปิดและตู้เปิด จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 50 ถึง 90 ครับผม)

 

 

 

ภาพที่ 1

 

แต่สำหรับความตั้งใจของทีมงาน เราจะเลือกที่ออกแบบเป็นตู้ซับฯแบบเปิด หรือมีพอร์ทนั่นเอง เพื่อให้สามารถกำหนดจุดความถี่ทำงานได้ตรงกับความต้องการ ในแง่ของการเป็นตู้ซับฯที่ให้เนื้อเสียงเบสได้ทั้งการฟังเพลงสามัญปกติทั่วไปและฟังเพลงในแบบร็อคหรือพ็อพได้สนุกสนานพอๆกัน

 

 

 

ภาพที่ 2

 

ในภาพที่ 2 ที่เป็นงานออกแบบตู้ของเรา จะเลือก Type เป็น Vented Box จากนั้นกรอกขนาด Dimensions ภายในลงไป โดยผมเลือกที่จะใช้ตู้เป็นทรงคางหมู Prism, slanted front และวางขนาดสัดส่วนให้สามารถวางในตำแหน่งเป้าหมายของเราได้พอดี

 

 

 

ภาพที่ 3

 

สำหรับตู้ซับฯใบนี้เราเลือกออกแบบโดยไม่มีการใส่ใยไนลอนภายในตู้ให้สิ้นเปลือง ดังนั้นในโหมด Damping เราจึงเลือกเป็น None

 

 

 

ภาพที่ 4

 

สำหรับพอร์ทหรือท่อเบส ในโหมด Vent ของโปรฯ (ภาพที่ 4) เราเลือกใช้เป็นท่อเหลี่ยม(Rectangle) ใช้พอร์ทเดียว และเลือกติดตั้งท่อภายนอก โดยเลือก Vent End Type เป็น Two Flush Ends เพื่อที่จะไม่กินปริมาตรของตู้เพิ่มเติม โดยพอร์ทที่ใช้มีขนาด 50 x 50 มิลลิเมตร และพอร์ทมีความยาว 202.1 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับตู้ในปริมาตรสุทธิ 0.397 ลบ.ฟุต จะกำหนดความถี่พอร์ทเป็น 55 Hz

 

 

 

ภาพที่ 5

 

ในภาพที่ 5 เป็นแบบตัดไม้เพื่อนำมาทำตู้ ในสัดส่วนต่างๆ ซึ่งสะดวกสำหรับช่างที่มีสมอง เพื่อนำไปวัดในแนวต่างๆของแผ่นไม้ เพื่อที่จะใช้ไม้ได้อย่างประหยัด อย่างในบทความนี้เราใช้ไม้ขนาด 10 มิลลิเมตร ไปทั้งหมดประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งแผ่น

 

   

  

  

  

ภาพที่
6

 

สำหรับในภาพที่ 6 เป็นขั้นตอนจัดทำตู้ซับฯ โดยใช้ไม้ความหนา 10 มิลลิเมตร พร้อมดามกระดูกงูบริเวณกึ่งกลางตู้เพื่อความแกร่งของตู้ ซึ่งในตอนท้ายสุดเราเลือกที่จะให้พอร์ทหันออกทางด้านเดียวกับดอกซับฯ และติดตั้งดอกซับฯให้แม่เหล็กอยู่นอกตู้ (เพื่อที่จะได้ไม่ไปกินปริมาตรตู้สุทธิของเรา) ซึ่งท้ายสุดปริมาตรที่ใช้งานได้ของตู้ซับฯดอกนี้อยู่ที่ 0.354 ลบ.ฟุต โดยที่พอร์ทก็อยู่นอกตู้ แม่เหล็กดอกซับฯก็อยู่นอกตู้

 

 

 

ภาพที่ 7

 

ส่วนในเรื่องของกราฟตอบสนองความถี่ตู้ซับฯเป้าหมายของเราในครั้งนี้ เป็นไปในภาพที่ 7 ครับ

 

เอาละเมื่อทุกสิ่งอย่างเสร็จเรียบร้อย เราก็เข้ามาถึงขั้นตอนการพิสูจน์ทราบถึงสิ่งที่เป็นจริงของตู้ซับฯเราในครั้งนี้กัน โดยใช้เพาเวอร์แอมป์ขนาดกำลังขับ 50 วัตต์ในการไดร์ฟดอกซับฯดอกนี้ จากนั้นทำงานร่วมกับ T-RTA V.99 ในการวัดประสิทธิผลของตู้ซับฯใบนี้กัน ซึ่งผลที่ได้หลังจากปล่อยสัญญาณ PinkNoise เข้าไปที่แอมป์ขับซับฯ วัดในระยะห่างจากดอกซับฯประมาณ 1 ฟุต

 

 

 

ภาพที่ 8

 

ในภาพที่ 8 คือผลตอบสนองของตู้ซับฯในโครงงานนี้ จะเห็นว่าแนวกราฟใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ในโปรแกรม BassBox 6 Pro ซึ่งตัองทำความเข้าใจเล็กน้อยว่า ช่วงความถี่ของพอร์ทยังไม่ได้เสริมการทำงานเมื่อเราวัดด้วยสัญญาณ PinkNoise นะครับ และกราฟในภาพที่ 8 นี้ เรายังไม่ได้ตัดครอสฯที่แอมป์ให้เป็นโลว์พาส คือปล่อยฟูลเรนจ์ในการวัดทดสอบ

 

 

 

ภาพที่ 9

 

ในภาพที่ 9 เมื่อเราทำการตั้งครอสฯที่แอมป์ ไว้ที่ประมาณ 170 Hz เพื่อจะนำไปเปิดฟังร่วมกับชุดลำโพงกลางแหลม สำหรับการวิเคราะห์เบสทำงานของตู้ซับฯใบนี้เมื่อทำงานร่วมกับเพลงจริงๆ

 

   

  

 

ภาพที่ 10

 

ในภาพที่ 10 เป็นการวิเคราะห์การทำงานของตู้ซับฯในส่วนของเสียงเบส โดยใช้การตั้ง PeakHold เอาไว้ และเมื่อมีเพลงที่กำเนิดความถี่ที่ 55 Hz ออกมา เราก็จะได้คลื่นเสริมการทำงานของตู้ซับฯจากพอร์ท ซึ่งวัดได้ที่ประมาณความถี่ 54.96 Hz ใกล้เคียงมากเลยครับ อ้อ..กราฟทั้งหมดเราบังคับความถี่ด้านบนไว้แค่ 500 Hz นะครับ เพื่อสังเกตุความเป็นไปได้อย่างแม่นยำ

 

ลิขสิทธิ์บทความโดย: Rocket Sound