อัตราส่วนความถี่สุ่ม(Sampling Rate)คืออะไร
- วันที่: 22/06/2010 14:14
- จำนวนคนเข้าชม: 9633
ในการบันทึกแบบดิจิตอล อาจเทียบการทำงานได้กับเครื่องวัดแรงกดอากาศ อัตราส่วนของความถี่สุ่มคือความเร็วขณะที่ใช้วัดแรงกดอากาศ มีหน่วยเป็น Hz(รอบต่อวินาที) ถ้าเครื่องบันทึกได้หนึ่งครั้งในแต่ละวินาที ก็จะได้อัตราส่วนของความถี่สุ่มเป็น 1 Hz และหากวัดได้ 100 ครั้งในแต่ละวินาที ก็จะกลายเป็นอัตราส่วนของความถี่สุ่ม 100 Hz และจากเหตุที่การบันทึกเสียงทั่วไปจะเป็นแบบสเตอริโอ อัตราส่วนของความถี่สุ่มก็จะใช้แยกกันในแต่ละแชนแนล เช่น ในการบันทึกบนแผ่นซีดีมาตรฐานอัตราส่วนความถี่สุ่มเป็น 88,200 ครั้งต่อวินาที(88,200 Hz) แต่ในการทำงานจริงจะเป็น 44,100 Hz เพราะเป็นอัตราส่วนแต่ละแชนแนล การใช้ความถี่สุ่มที่รวดเร็วสามารถบันทึกย่านความถี่สูงได้ดี การบันทึกที่สมบูรณ์โดยใช้หลักของ Nyquist คือแต่ะส่วนของคลื่นเสียงจะมีการใช้ความถี่สุ่มซ้ำเป็นสองครั้ง ดังนั้นหากท่านพยายามที่จะบันทึกเสียงกับย่านความถี่สูงที่มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอัตราส่วนของความถี่สุ่ม ก็อาจมีผลให้เกิดความผิดพลาดทางเสียง ตัวอย่างเช่น เมื่อทำการบันทึกเสียงที่ความถี่ 30,000 Hz โดยใช้อัตราส่วนของความถี่สุ่มเป็น 40,000 Hz ข้อผิดพลาดของเสียงจะมีขึ้นที่ความถี่ 10,000 Hz ที่เรียกกันว่า “ข้อผิดพลาดแอบแฝง” เพาะเสียงต้นแบบเกิดการสูญหายไปและมีข้อผิดพลาดบางประการปรากฏขึ้นในบริเวณนั้น การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดแอบแฝงนี้ จะใช้การบันทึกแบบดิจิตอลกับกระบวนการประมวลผลเป็นตัวบังคับเสียงทุกเสียงให้มีความสูงมากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยนับเทียบกับอัตราส่วนของความถี่สุ่ม และใช้การเคลื่อนย้ายสัญญาณในขั้นตอนขณะกรองสัญญาณทางดิจิตอล/อนาล็อก ในการคืนสภาพเสียงที่สมบูรณ์