การใช้สายไฟเมนในระบบเสียงรถยนต์
- วันที่: 27/09/2014 16:13
- จำนวนคนเข้าชม: 28304
เป็นเรื่องที่มักถกเถียงกันอย่างมากมายเกี่ยวกับคุณสมบัติบัญญัติของสายไฟเมนในแบบต่างๆ อาทิ สายที่ปราศจากอ๊อกซิเจน(oxygen-free), สายกลุ่มเส้นลวดหลายขนาด(multistranded), สายแบบเส้นขดลวด(braided), สายถักเกลียว(twisted), สายแกนอากาศ(air core), และสายยี่ห้อชั้นนำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องของ “คุณค่า” ทางใจ
แต่ในอันที่จริงแล้วสายไฟเมนที่ใช้ได้ดีที่สุดก็คือ “สายที่มีขนาด(เบอร์)ที่เหมาะสม” นั่นเอง สายไฟเมนโดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็น AWG(American Wire Gauge) หรือเรียกกันสั้นๆว่า “เกจ”(gauge) การตัดสินใจเลือกขนาดสายที่เหมาะสมกับระบบเสียงในแต่ละระบบ จะเริ่มพิจารณาด้วยจำนวนของกระแสที่ไหลผ่านได้มากที่สุดในสาย(อ้างอิงถึงขนาดของฟิวส์ในเพาเวอร์แอมป์, หรือเฮดยูนิท และหรืออุปกรณ์ที่ใช้ไฟอื่นๆในระบบ) จากนั้นจึงตัดสินใจเลือกขนาดของสาย(เบอร์) ด้วยความยาวของสายที่จะต้องใช้ในระบบ ตามตารางที่แนบมาในรูปประจำเรื่อง
ในกรณีที่ใช้สายไฟเมนที่เป็นเส้นอลูมินั่มแทนเส้นทองแดงธรรมดา ให้ใช้ในขนาดที่ใหญ่กว่าถัดไป(ตัวเลขน้อยกว่า)แทน คุณจะต้องพิจารณาในงานการติดตั้งด้วยว่า จะใช้สายไฟในการเดินระหว่างแบตเตอรี่ไปยังอุปกรณ์ต่างๆในบริเวณใด เพราะแต่ละตำแหน่งจะใช้สายไม่เท่ากัน การใช้สายไฟที่ผิดพลาด ขาดการยั้งคิดที่ดี มีผลทำให้เกิดปัญหากับระบบเสียงอย่างมากมาย นอกจากนั้นสายไฟเมนที่ใช้ได้ดีจะต้องมีความยืดหยุ่นตัวได้สูงๆ และมีความหนาของเปลือกหุ้มที่เป็นวัสดุคุณภาพดี และไม่เหลวละลายง่ายที่ความร้อนสูงๆ คุณต้องไม่เลือกติดตั้งสายไฟเมนผ่านบริเวณที่แหลมคม เพื่อกันไม่ให้เปลือกหุ้มสายมีการฉีกขาดได้ง่ายเกินไป
เทียบเบอร์สายไฟเมน กับพื้นที่หน้าตัด
ในกรณีที่ไม่ทราบแน่ชัดถึงขนาดเบอร์สายไฟในมาตรฐาน AWG เราสามารถทำการเทียบขนาดของเบอร์สายไฟ โดยการวัดพื้นที่หน้าตัดของแนวเส้นทองแดงภายในสาย(ไม่รวมเปลือกหุ้ม) ด้วยอุปกรณ์ในการวัดพื้นที่หน้าตัดทั่วไป และเทียบได้ดังนี้
ขนาดเบอร์สายไฟ 40 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0050 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.08 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 39 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0064 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.09 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 38 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0078 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.10 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 37 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0095 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.11 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 36 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0133 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.13 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 35 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0154 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.14 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 34 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0201 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.16 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 33 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0254 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.18 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 32 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0314 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.20 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 31 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0415 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.23 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 30 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0503 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.25 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 29 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0646 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.29 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 28 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.0804 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.32 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 27 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.1020 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.36 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 26 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.1280 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.40 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 25 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.1630 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.45 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 24 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.2050 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.51 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 23 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.2590 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.57 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 22 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.3250 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.64 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 21 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.4120 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.72 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 20 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.5190 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.81 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 19 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.6530 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 0.91 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 18 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 0.82 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 1.02 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 17 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 1.04 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 1.15 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 16 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 1.31 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 1.29 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 15 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 1.65 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 1.45 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 14 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 2.08 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 1.63 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 13 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 2.63 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 1.83 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 12 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 3.31 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 2.05 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 11 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 4.15 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 2.30 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 10 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 5.27 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 2.59 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 9 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 6.62 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 2.91 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 8 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 8.35 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 3.26 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 7 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 10.6 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 3.67 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 6 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 13.3 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 4.11 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 5 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 16.8 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 4.62 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 4 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 21.2 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 5.19 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 3 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 26.7 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 5.83 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 2 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 33.6 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 6.54 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 1 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 42.4 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 7.35 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 0 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 53.5 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 8.25 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 00 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 67.4 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 9.26 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 000 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 85 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 10.4 mm
ขนาดเบอร์สายไฟ 0000 AWG จะมีพื้นที่หน้าตัดของเส้นทองแดง 107 ตารางมิลลิเมตร
Diameter 11.7 mm
การทดสอบกำลังไฟ
ถ้าเราต้องการทราบว่าไฟที่จ่ายให้กับระบบเสียงของเรานั้นพอเพียงหรือไม่ สามารถกระทำได้โดยการวัดจาก VOM(Volt-Ohm-Meter) หรือ DMM(Digital-Multi-Meter) โดยเริ่มวัดแบตเตอรี่ทั้งในขณะที่ติดเครื่องยนต์และไม่ติดเครื่องยนต์ แล้วอ่านค่าทั้งสองสภาวะนี้เก็บเอาไว้ จากนั้นจึงย้ายไปวัดที่ขั้ว B+ ตรงขาไฟเข้าที่เพาเวอร์แอมป์ ก็จะได้ค่าแรงไฟมาตัวเลขหนึ่ง เมื่อรวมกันแล้วความแตกต่างควรจะมีประมาณ 0.5 โวลท์ หรืออย่างมากก็ไม่ควรเกิน 1 โวลท์ กรณีนี้ถ้าคำนวณขนาดของสายไฟแรงดันถูกต้องความแตกต่างจะยิ่งน้อยกว่านี้ จากนั้นให้เปิดใช้ระบบเสียงในระดับความดังที่คิดว่า “ดังมากพอ” แล้ววัดที่ขั้ว B+ ตรงเข้าไฟเข้าที่เพาเวอร์แอมป์อีกครั้ง ถ้าเข็มมิเตอร์เต้นตามจังหวะของเพลง, ไฟบนหน้าปัดวิทยุมีอาการกระพริบ นั่นเป็นหลักฐานชี้ชัดว่าไฟในรถมีอาการไม่พอเพียง
แต่ถ้าหากมีการลดลงของเข็มวัดน้อยกว่า 1/10 โวลท์ ก็ถือเป็นสถานะปกติไม่ต้องพะวงมากนัก ซึ่งไฟที่ลดลงนั้นอาจมีผลมาจาก
1.สายไฟแรงดันที่ขั้วบวก หรือขั้วลบที่ลงกราวน์ อาจมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนของกระแสที่ไหลผ่าน
2.เกิดอิมพีแดนซ์อย่างรุนแรงในจุดต่อยึดบางจุดของสายไฟแรงดัน/หรือขั้วกราวน์ อาทิ ขั้วแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ, มีการต่อสายไฟแรงดันอย่างหลวมๆไม่บัดกรี, ขันหัวขั้วที่แบตเตอรี่ไม่แน่น, ยึดหัวขั้วไฟกราวน์ไม่แน่นหนา, ไม่ขูดสีตัวถังให้สะอาด หรือการกราวน์ที่ไม่สมบูรณ์
3.ขนาดของแบตเตอรี่ไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟให้กับระบบเสียง หรือมีความจุของกระแสที่แบตเตอรี่น้อยเกินไป
4.แบตเตอรี่มีการคายประจุที่เร็วมาก(ผิดปกติ) หรือไม่ก็เพราะแผ่นเซลที่อยู่ในแบตเตอรี่เกิดความเสียหาย(เปลี่ยนใหม่)แล้วเช็คด้วย VOM หรือ DMM อีกครั้ง
5.แบตเตอรี่มีขนาดพอเพียงกับการจ่ายกระแส แต่ว่าตัว “ไดชาร์จ” ให้ขนาดกระแสขาออกน้อยเกินไป หรือไม่สามารถจ่ายกระแสได้มากพอต่อการประจุแบตเตอรี่ให้เต็มได้ กรณีแบบนี้ค่าแรงดันที่วัดได้จากแบตเตอรี่จะต่ำกว่า 12 โวลท์ เมื่อทำการตรวจวัดในขณะดับเครื่องยนต์