• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

งานออกแบบตู้เปิด Vented Box ด้วย BassBox Pro

  • วันที่: 04/01/2014 15:25
  • จำนวนคนเข้าชม: 12546
งานออกแบบตู้ Vented Box ครับ เนื่องจากดอกซับฯที่เราหยิบมาใช้ในโปรเจ็คของเรา เป็นดอกซับฯขนาด 2-3/4 นิ้ว โดยเริ่มต้นเราก็ต้องเปิดโปรแกรมขึ้นมา จากนั้นไปที่ โหมด Driver จากนั้นคลิ๊กไปที่ Configuration เพื่อกรอกจำนวนดอกซับฯที่ใช้ในตู้ ซึ่งในที่นี้เราใช้ซับฯ 1 ดอกในตู้ ก็ให้ใส่เลข 1 ในช่อง Number of Drivers (ภาพที่ 1)

 

            จากนั้นไปที่ Parameters โดยกรอกค่า T/S parameters ของดอกซับฯลงไป พร้อมกับชี้เมาส์ไปที่แถบสีน้ำเงิน เพื่อทราบค่า EBP ซึ่งเท่ากับ 203 (ตัวเลขเกิน 90 ขึ้นไป แนะนำออกแบบใช้งานเป็นตู้เปิด จะเหมาะสมที่สุดครับ) (ภาพที่ 2)

            ต่อมาก็กรอกรายละเอียดมิติด้านต่างๆของดอกซับฯ ในโหมด Dimensions (ภาพที่ 3) โดยเน้นการเลือก Outer Shape และ Piston Type ให้ตรงกับความเป็นจริง อย่างดอกซับฯที่เรานำมาใช้งานมีลักษณะในภาพที่ 4 ก็จะต้องเลือก Outer Shape เป็น Round with square sides และ Piston Type เป็น Cone ในภาพที่ 3





            จากนั้นให้เข้าไปที่ Box เพื่อเลือกงานออกแบบตู้ซับฯของเรา ซึ่งอย่างที่ทราบว่าแล้วว่าค่า EBP ของดอกซับฯเราคือ 203 ดังนั้นความเหมาะสมจึงเลือกงานออกแบบเป็นตู้เปิด Vented Box (ภาพที่ 5) ในช่อง Type จึงเลือกเป็น Vented Box โดยในเบื้องต้นอาจให้โปรแกรมออกแบบปริมาตรให้ โดยคลิ๊กที่ Suggest 

            ซึ่งในคราวนี้ผมเลือกที่จะออกแบบตู้ซับฯ โดยกำหนดค่า F3 ของตู้เอง โดยกำหนดไว้ที่ 55 Hz (ภาพที่ 6) จากนั้นให้คลิ๊กที่ Accept ก็จะได้ค่า Vb: และ Total: รวมถึงค่าอื่นๆ ดังภาพที่ 7



            แต่สำหรับผมนั้นต้องการออกแบบตู้ที่มีปริมาตรรวม(มิติภายใน)อยู่ที่ 0.0595 ลบ.ฟุต (ภาพที่ 5) จึงป้อนค่า Vb: ใหม่เป็น 0.0574 (ปริมาตรอากาศสุทธิ) เพื่อให้ได้ค่า Total เป็น 0.0595 ลบ.ฟุต ซึ่งค่านี้อาจคลาดเคลื่อนเล็กน้อยเนื่องจากยังไม่รวมปริมาตรของท่อ แต่ในภาพตัวอย่างได้รวมปริมาตรของท่อเรียบร้อยแล้ว และค่า Fb ก็อาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง จากภาพตัวอย่าง
            จากนั้นให้เข้าไปที่โหมด Damping เพื่อเลือกไปที่ None (คือไม่ใส่ใยไนล่อนในตู้) ดังภาพที่ 8

            จากนั้นเข้าไปที่โหมด Vents (ภาพที่ 9) ใส่จำนวนท่อในช่อง No. of Vents เป็นเลข 1 (คือใช้ 1 ท่อในตู้) เลือก Vent Cross Section Shape เป็น Round และเลือก Vent End Type ไปที่ One Flush End จากนั้นในตัวอย่างผมเลือกใช้ท่อขนาด 15 มิลลิเมตร จึงกรอกตัวเลข 15 ลงไป ซึ่งโปรแกรมก็จะออกแบบความยาวท่อเป็น 93.88 mm หรือตัวเลขเต็มๆก็ประมาณ 94 มิลลิเมตร นั่นหมายความว่าท่อขนาดนี้ ในปริมาตรตู้รวมที่ 0.0595 ลบ.ฟุต จะทำงานที่ความถี่ 56.99 Hz ครับ

            จากนั้นย้อนกลับไปที่โหมด Box Design อีกครั้ง เพื่อออกแบบตู้ (ภาพที่ 10) เลือก Shape ไปที่ Prism, slanted front (ตู้เหลี่ยมคางหมู) เลือกมิติใช้งานเบื้องต้น Dimensions are: ไว้ที่ Internal จากนั้นให้กรอกความหนาของไม้ที่เราใช้ ในตัวอย่างคือไม้ 10 มิลลิเมตร กรอกในช่อง Wall Thickness, Front เป็น 10 และช่อง Side: เป็น 10 โดยก่อนใส่ตัวเลขต้องให้หน่อยด้านหลังเป็นมิลลิเมตร(mm) ก่อนนะครับค่อยใส่

            จากนั้นก็เลือกใส่ด้านต่างๆ(ภายในตู้)ให้เหมาะสม ซึ่งต้องสังเกตุอย่างให้ค่า Internal Volume ที่ Total เปลี่ยนแปลงไปจากค่า 0.0595 cu.ft นะครับ

            เมื่อได้สัดส่วนที่ถูกต้องแล้ว ให้คลิ๊กที่ Dimensions are: เป็น External ซึ่งค่าต่างๆจะบวกเพิ่มให้อัตโนมัติ ดังภาพที่ 11

            จากนั้นเมื่อคลิ๊กไปที่โหมด Parts List ก็จะได้แบบตัดไม้ในส่วนต่างๆของตู้ซับฯที่เราออกแบบไว้ (ภาพที่ 12)

            เมื่อนำแบบไปตัดไม้และประกอบเข้ารูปก็จะได้ดังภาพที่ 13 นี้ไงครับ อ้อ..สำหรับการตอบสนองความถี่ของตู้ซับฯที่ออกแบบนี้ โปรแกรมได้จำลองสภาพการตอบสนองความถี่ไว้ในภาพที่ 14 ครับ โดยที่เราคลิ๊กที่ Plot และเลือกสีของเส้นกราฟ ก็จะได้ดังภาพ



            เมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อย เราก็จะพิสูจน์ผลงาน โดยการนำตู้ซับฯพร้อมดอกซับฯมาวัดวิเคราะห์ผล ใช้เพาเวอร์แอมป์ขนาดเหมาะสม ป้อนสัญญาณ Pink Noise เข้าที่แอมป์ ตั้งจุดตัดครอสโอเวอร์(ในตัวอย่าง)ไว้ที่ประมาณ 90 Hz (ภาพที่ 16)

            และเมื่อวัดวิเคราะห์การตอบสนองความถี่ของตู้ ด้วยเครื่อง T-RTA V.99 จะได้ดังภาพที่ 17 ที่ความถี่ F3 ของตู้จากการวัดจริง ได้อยู่ที่ 53.33 dB SPL จากความดังเฉลี่ยที่ 85 dB SPL

            แต่เมื่อใช้เพลงจริงๆเปิดเพื่อวัดวิเคราะห์ตู้เบสอีกครั้ง ก็ให้ผลใกล้เคียงกับที่ได้จากการออกแบบ ดูในภาพที่ 18 เทียบกับภาพที่ 14 ก็จะเห็นผลได้ชัดเจน

            ความแตกต่างของการป้อนสัญญาณ Pink Noise เพื่อวัดวิเคราะห์ กับการป้อนเพลงจริงเพื่อวัดวิเคราะห์ ก็เนื่องมาจากการที่เราใช้สัญญาณ Pink Noise ท่อที่เราออกแบบไว้ยังไม่ได้รับโน้ตที่ถูกต้อง เหมือนการใช้เสียงเพลงจริงป้อนเข้าไป(สัญญาณ Acoustic จริงๆ)ที่จะได้โน้ตที่ถูกต้องกว่า และต้องไม่ลืมว่าดอกซับฯที่เราใช้มีค่า Fs ที่ประมาณ 74 Hz แต่เราใช้การจูนท่อไว้ที่ 56.99 Hz เพื่อช่วยเสริมคลื่นความถี่ต่ำให้ได้ F3 ต่ำกว่า Fs ของดอกซับฯจริง