ตรวจสอบสภาพตู้+ซับวูฟเฟอร์ด้วย Apps MegaAudio Pro
- วันที่: 01/03/2014 17:14
- จำนวนคนเข้าชม: 14049
หลังจากงานออกแบบตู้แล้วเสร็จ ประเด็นสำคัญก็คือจะให้รู้สึกมั่นใจได้อย่างไรว่า ตู้ซับวูฟเฟอร์ที่เราออกแบบนั้น ทำงานเข้ากันได้กับดอกซับฯเป็นอย่างดี งวดนี้เรามีวิธีตรวจสอบสภาพตู้+ซับวูฟเฟอร์ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับหน้าที่หลักทางด้านย่านความถี่ต่ำในระบบเสียงของเรา
แนะนำแอพใช้งานในการนี้ ที่ชื่อว่า MegaAudio Pro ที่ราคาค่าตัวเพียง 26.89 บาท สามารถติดตั้งใน Smartphone หรือ Tablet ที่รัน Android ได้เลย
หลังจากประกอบดอกซับฯเข้ากับตู้ที่เราออกแบบแล้วเสร็จ ก็นำมาต่อเข้ากับเพาเวอร์แอมป์ขนาดกำลังขับพอเหมาะ ใช้สายเชื่อมสัญญาณระหว่าง Tablet เข้ากับอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ (ตั้งเกนแอมป์ต่ำสุดไว้ก่อน) จากนั้นลองเร่งเสียงใน Tablet ขึ้นช้าๆจนสูงสุด เพื่อดูว่าได้ความดังที่ดอกซับฯพอเหมาะหรือไม่ ถ้าหากยังเบาไปค่อยไปเร่งเกนในตัวแอมป์ให้แรงขึ้น
MegaAudio Pro
เป็นแอพที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการ Test your subwoofers speakers (subs) และลำโพงในรูปแบบต่างๆของระบบเสียงได้ หากแต่ในที่นี่จะกล่าวถึงเฉพาะในด้านการตรวจสอบสภาพตู้+ซับวูฟเฟอร์เท่านั้น
มีเมนูใช้งานหลักๆได้แก่ High Pitch, Bass, Subwoofer, Tempo, Loops, Drums, SoundBoard, Sirens, Sound Nade, Noise, Stereo และ Morse Code
ใน High Pitch จะให้เราสามารถเลือกรูปแบบของคลื่นได้ ในที่นี้เรามักเลือกเป็น SineWave ซึ่งเป็นรูปคลื่นคล้ายๆกับออดิโอปกติ จะมีปุ่มเลือกคลื่นได้ที่ 9kH ถึง 20kHz เพื่อการตรวจสอบทวีตเตอร์
ส่วน Bass จะให้เราเลือกรูปแบบของคลื่นได้เช่นกัน และมีปุ่มให้เลือกคลื่นได้ที่ 10Hz ถึง 120Hz หรือจะเลือกเป็น 1Hz ถึง 10Hz ก็ได้
BASS
ฟังค์ชั่น Bass นี่ละที่เราจะเริ่มใช้จริง เพื่อพิสูจน์ความสามารถของตู้ซับฯ ว่าเริ่มทำงานได้ที่ความถี่ใด โดยเริ่มต้นที่ 10Hz (เร่งวอลลุ่มด้านล่างประมาณครึ่งหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยเร่งสุดหากยังไม่ได้ยินเสียงคลื่น)
โดยปกติแล้วตู้ซับฯที่สมบูรณ์แบบนั้น มักจะเริ่มได้ยินเสียงคลื่นดังพอประมาณก็อยู่ตั้งแต่ความถี่ 30Hz ขึ้นไป การได้ยินเสียงคลื่น 10Hz หรือ 20Hz ในระดับเบามากจึงไม่ใช่ข้อผิดพลาด
ประเด็นอยู่ที่ว่า ตั้งแต่คลื่น 30Hz ไปจนถึง 120Hz นั้น ได้ระดับความดังที่ทัดเทียมกันหรือไม่ต่างหาก ถ้าเป็นตู้ซับฯที่ออกแบบได้ลงตัวกับดอกซับฯเต็มร้อย ก็จะให้ระดับความดังที่ค่อยข้างทัดเทียมกัน หรือถ้าหากได้ยินคลื่นใดคลื่นหนึ่งดังมาก นั่นก็อาจถึงว่าเราออกแบบตู้ให้เป็น SPL ที่เน้นดังเฉพาะบางความถี่
กรณีนี้ถ้าหากทำการร่วมกับเครื่องวัด SPL (อาจใช้ SmartPhone ที่ติดตั้งแอพวัด SPL มาใช้ร่วมด้วยก็ได้) ก็จะมองเห็นความแตกต่างกันของความดังในแต่ละรูปคลื่นได้ ซึ่งจะปรากฏเป็นกราฟการตอบสนองความถี่ของตู้ซับฯได้เช่นกัน
SUBWOOFER
ในโหมดซับวูฟเฟอร์ จะมี Beat ให้เลือกฟัง 3 แบบ และมีสวีปคลื่นให้เลือกใช้ 2 แบบ คือ 20kHz ถึง 10Hz และ 200Hz ถึง 10Hz ให้เลือก เพื่อสแกนว่าตู้ซับฯนั้นมีความไวในการตอบสนองคลื่นแต่ละคลื่นได้ดีมากน้อยเพียงใด ในส่วนนี้ถ้าใช้งานร่วมกับ RTA ก็จะเห็นความชัดเจนของประสิทธิภาพทำงานของตู้และดอกซับฯ
TEMPO
เป็นโหมดของเครื่องเคาะจังหวะ มีให้เลือกใช้งาน 4 รูปแบบ และสามารถเลือกความช้าเร็วได้ด้วย เพื่อตรวจสอบความพร้อมของตู้+ซับฯในรูปคลื่นเบสต่างๆ
LOOPS
เป็นแทรคเสียงจังหวะ ที่เล่นซ้ำวนไปเรื่อยๆ มีให้เลือก 12 รูปแบบ ใช้เพื่อตรวจสอบความสามารถของตู้+ซับฯในการใช้งานกับคลื่นเบสในลักษณะต่างๆ
DRUMS
เป็นแทรคเสียงชิ้นดนตรีในรูปแบบต่างๆ มีให้เลือกตั้งแต่ HI-HAT, BASS, TOM 1, TOM 2, MARACA, SNARE, CYMBOL และ COW BELL
SOUNDBOARD
เป็นแทรคเสียงในลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกัน มีให้เลือกใช้งาน 15 รูปแบบเสียง ประกอบด้วย PHONE, DOORBELL, APPLAUSE, JEER, FART, LAUGH, FAIL, FOGHORN, PACMAN, BABY, WOLF WHISTLE, BARK, RIMSHOT, EXPLOSION และ WHISTLE
SIRENS
เป็นแทรครวมเสียงไซเรนในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ FIRE ALARM, CAR ALARM, BURGLAR ALARM, POLICE SIREN, AIR RAID SIREN และ ALARM CLOCK
SOUND NADE
เป็นแทรคเสียง high pitch noise เพื่อใช้ตรวจสอบความสามารถของทวีตเตอร์ (ผู้สูงอายุมากๆอาจไม่ได้ยินเสียงนี้)
NOISE
เป็นแทรคเสียงสัญญาณรบกวนในลักษณะต่างๆ ประกอบด้วย Pink Noise, Brown Noise และ White Noise
STEREO
ใช้ตรวจสอบช่องเสียงสเตอริโอ ในช่องสัญญาณซ้ายและช่องสัญญาณขวา เพื่อความถูกต้องของสัญญาณ
MORSE CODE
เป็นรูปแบบการส่งสัญญาณมอส เรียงอักษรจาก A ถึง Z
สำหรับผู้ที่มีความเชียวชาญในการทดสอบลำโพง App ตัวนี้ สามารถใช้ทดสอบ/ตรวจสภาพของลำโพงได้ตั้งแต่ ซับวูฟเฟอร์, ลำโพงเสียงกลาง, ลำโพงทวีตเตอร์ รวมไปถึงระบบหูฟังต่างๆ ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ สำหรับในส่วนนี้แนะนำเพื่อการตรวจสอบ “ซับวูฟเฟอร์”