นวัตกรรมที่กำเนิดมาบนโลกระบบเสียงรถยนต์
- วันที่: 03/05/2014 15:51
- จำนวนคนเข้าชม: 9012
ขอนำท่านไปทัศนา “นวัตกรรมที่กำเนิดมาบนโลกระบบเสียงรถยนต์” กันนะครับ เนื้อหาอิงไปถึงต้นตระกูลของเครื่องเสียงรถยนต์ ตั้งแต่เริ่มจุติเมื่อครั้งปี ค.ศ. 1958 โน้นแนะ ประวัติที่เป็นมาของนวัตกรรมในโลกระบบเสียงรถยนต์จะเป็นอย่างไร ไปทัศนากันได้เลยครับ
ค.ศ. 1958(พ.ศ. 2501)
กำเนิดเครื่องเล่นวิทยุระบบ AM ตัวแรกของโลก ที่มีปุ่มต่างๆทำงานด้วยระบบกลไก ใช้อุปกรณ์แบบหลอดสุญญากาศ ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ในวงจรแบบคลาส-บี
ค่ายสินค้า Delco นำเสนอ Delco Sportable ที่ติดตั้งในรถยนต์ออสโมบิล และสามารถดึงตัวเครื่องออกจากแผงคอนโซลหน้า แล้วนำไปเล่นต่อในบ้านโดยต่อเข้ากับแบตเตอรี่
ช่วงปลายปี เริ่มมีการจำหน่ายเครื่องรับวิทยุระบบ FM ตัวแรก เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Lincoln Continental
--------------------------------
ค.ศ. 1959(พ.ศ. 2502)
บริษัท โมโตโรล่า ออกเครื่องรับวิทยุระบบ FM รุ่น FM-900 ที่มาพร้อมกับเครื่องเล่นจานเสียงแบบสปีด 45 ระบบอัตโนมัติ
--------------------------------
ค.ศ. 1960(พ.ศ. 2503)
กำเนิดเครื่องรับวิทยุ AM ติดรถยนต์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ล้วนๆ พร้อมด้วยภาคขยายในตัวแบบคลาส-เอ สามารถตั้งสถานีล่วงหน้าได้ 5 สถานี นับเป็นการสิ้นสุดของ”ยุคหลอดสุญญากาศ”
--------------------------------
ค.ศ. 1961(พ.ศ. 2504)
มีการพัฒนาคุณสมบัติการใช้งานของเครื่องรับวิทยุให้สะดวกมากขึ้น เช่นระบบกวาดและค้นหาสถานี โดยใช้มอเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อกวาดหาคลื่นแล้วหยุดโดยอัตโนมัติในสถานีที่มีสัญญาณแรงพอและชัดเจน
--------------------------------
ค.ศ. 1962(พ.ศ. 2505)
บริษัท ไครส์เลอร์ ได้พัฒนาระบบแอมป์ของเครื่องเล่น ที่แยกจากกันเป็นอิสระเพื่อการขยายไปขับชุดลำโพงหลัง เป็นยุคของการกำเนิดระบบเทป 4 แทรค ซึ่งเป็นเทปแบบสปีด 3-3/4 ips
--------------------------------
ค.ศ. 1963(พ.ศ. 2506)
มีการนำภาครับคลื่น AM และ FM มารวมไว้ในเครื่องรับเครื่องเดียวกัน
--------------------------------
ค.ศ. 1964(พ.ศ. 2507)
เครื่องเล่นเทปแบบ 4 แทรค ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด มีตลับเทปชนิดที่เล่นได้ทั้งครึ่งชั่วโมง, หนึ่งชั่วโมง และสองชั่วโมงออกมาจำหน่ายมากมาย โดยบริษัทผู้ผลิตตลับเทปชั้นนำในยุคนั้น อาทิ Metravox และ Craig
--------------------------------
ค.ศ. 1965(พ.ศ. 2508)
บริษัท โมโตโรล่า, อาร์ซีเอ และฟอร์ด จับมือกันพัฒนาเครื่องเล่นเทปแบบ 8 แทรคสำหรับเล่นในรถยนต์ ทำให้ระบบเทป 4 แทรคค่อยๆเสื่อมความนิยมลง
--------------------------------
ค.ศ. 1966(พ.ศ. 2509)
เครื่องเล่นเทปแบบ 4 แทรค พัฒนาขีดความสามารถถึงระดับสูงสุด ให้ค่าการตอบสนองความถี่ได้ที่ 100 Hz – 8,000 Hz มีการแยกสเตอริโอได้ที่ 20 dB และมีกำลังขยาย 3 วัตต์ต่อข้าง
บริษัท อาร์ซีเอ(RCA) และเลียร์เจ็ท(Lear Jet) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับยานอวกาศ ได้นำเสนอเทปแบบ 8 แทรค ที่มีสปีด 3-3/4 ims และได้รับความนิยมมากกว่าแบบ 8 แทรค โดยสามารถที่จะเลือกเล่นแทรคได้เองโดยอัตโนมัติ บริษัท โนเรลโก(Norelco) ซึ่งก็คือ Philipsในปัจจุบัน ได้นำเสนอระบบเทปคาสเส็ทแบบสปีด 1-7/8 ims สามารถเล่นได้นานต่อเนื่องถึง 30 นาทีต่อหนึ่งหน้าเทป
--------------------------------
ค.ศ. 1967(พ.ศ. 2510)
บริษัท แอลป์ แห่งประเทศญี่ปุ่น และบริษัท โมโตโรล่า ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัท แอลป์-โมโตโรล่า อิงค์ (Alps-Motorola Inc.) ขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เป็นผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์โดยเฉพาะ หลังจากนั้นเพียง 19 วันต่อมาก็ได้เปิดตัว เครื่องเล่นเทปแบบ 8 แทรคติดรถยนต์เครื่องแรกที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น
บริษัท SJB นำเสนอเครื่องเล่นรุ่นใหม่ล่าสุดออกมาถึง 2 รุ่นด้วยกัน คือรุ่น 603M/48 ที่สามารถเล่นเทปได้ทั้งระบบ 4 แทรคและ 8 แทรคได้ในตัวเดียวกัน กับรุ่น ST 1008 ซึ่งเล่นได้ทั้งเทป 8 แทรค และวิทยุระบบ FM stereo
ค่ายโนเวลโก นำเสนอเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทติดรถยนต์ระบบสเตอริโอเครื่องแรก ออกสู่ตลาด
ค่ายไอว่า (AIWA) ก็นำเสนอเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทติดรถยนต์ที่มีกำลังขยายในตัว 1 วัตต์ ที่ขับออกทางลำโพงภายในตัวขนาด 3-1/2 นิ้ว
---------------------------------
ค.ศ. 1968(พ.ศ. 2511)
ค่ายไครส์เลอร์ ออกเครื่องเล่นเทป 8 แทรคที่มีภาครับ AM/FM พร้อมในตัว
บริษัท เลียร์เจ็ท ออกเครื่องเล่นเทป 8 แทรค พร้อมระบบกรอเทปไปด้านหน้า(Fast Forward) และภาครับ AM/FM ที่สามารถรับฟังในระบบสเตอริโอมัลติเฟล็กซ์ได้ด้วย
ค่าย Craig ก็ออกเครื่องเล่นเทป 8 แทรค พร้อมภาครับ FM ในตัว
ค่าย Blaupunkt แห่งเยอรมันก็นำเสนอเครื่องบันทึกเทปคาสเส็ทออกมาในช่วงปีนี้
---------------------------------
ค.ศ. 1969(พ.ศ. 2512)
ระบบ FM stereo ได้รับความนิยมอย่างมาก มีผลให้เครื่องรับวิทยุแบบ FM stereo ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างในเรื่องของการมัลติเฟล็กซ์ที่ยังไม่คงที่
----------------------------------
ค.ศ. 1970(พ.ศ. 2513)
เครื่องเล่นเทป 8 แทรคเกือบทุกรุ่นมีการติดตั้งลำโพงในตัวเพื่อความสะดวก ซึ่งในเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทก็ทำเช่นเดียวกัน
บริษัท ไครส์เลอร์ ได้ผลิตเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทรถยนต์ที่สามารถบันทึกเสียงจากรายการวิทยุที่กำลังเปิดฟังอยู่ได้ และยังบันทึกแยกต่างหากด้วยไมโครโฟน ในชื่อรุ่น 1115 มีความสามารถในการตอบสนองความถี่ 80 Hz – 10,000 Hz
บริษัท Utah ได้เสนอลำโพงระบบสเตอริโอในรุ่น SA-55 ที่เป็นลำโพงชุดสำเร็จรูป กรวยแบบดูอัล(dual cone)ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-1/4 นิ้ว พร้อมฝาตระแกรงหน้าชุดโครเมี่ยมสำหรับติดตั้งที่บานประตูหน้ารถยนต์ รับกำลังขับได้ 5 วัตต์
----------------------------------
ค.ศ. 1971(พ.ศ. 2514)
เครื่องเล่นเทปคาสเส็ทสามารถเล่นกลับหน้าได้เองอัตโนมัติ(auto-reverse) ที่เห็นมีนำออกจำหน่ายเป็นของ Clarion
บริษัท โซนี่ ก็นำเสนอเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทแบบกลับหน้าได้ตามออกมาในรุ่น TC-10
----------------------------------
ค.ศ. 1972(พ.ศ. 2515)
มีการพัฒนาอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคชิ้นสำคัญขึ้นมา นั่นคือ “ไอซี”(IC: Integrated circuits) เพื่อมาใช้ในภาคของปรีแอมป์และเพาเวอร์แอมป์ ส่งผลให้ตัวเครื่องเล่นต่างๆมีขนาดเล็กลงและมีสมรรถภาพการใช้งานที่ดีขึ้นอย่างมาก
บริษัท ไพโอเนียร์(Pioneer) ได้ก่อตั้งแผนกเครื่องเสียงรถยนต์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา
บริษัท เจนเส่น(Jensen) นำเสนอลำโพงติดรถยนต์แบบ 6x9 นิ้ว ที่มีลำโพงเสียงแหลม (Tweeter)ขนาด 3 นิ้วอยู่ร่วมแกนเดียวกัน (Coaxials)
บริษัท Craig นำระบบการตัดเสียงรบกวนแบบ Dolby B มาใช้กับเครื่องเล่นเทปคาสเส็ท
----------------------------------
ค.ศ. 1973(พ.ศ. 2516)
ระบบ “ไฮ-เพาเวอร์” ได้ถือกำเนิดขึ้น
บริษัท Craig นำเสนอเครื่องเล่นเทปแบบ 8 แทรค และแบบคาสเส็ทที่มีกำลังขยายในตัวสูงถึง 12 วัตต์ต่อแชนแนล
----------------------------------
ค.ศ. 1974(พ.ศ. 2517)
บริษัท a/d/s เสนอระบบลำโพงขนาดเล็ก(Mini Speaker System) แบบสองทางออกมา ชื่อรุ่น 200i ประกอบด้วยทวีตเตอร์ขนาด 1 นิ้ว และวูฟเฟอร์ขนาด 4 นิ้ว
บริษัท a/d/s สามารถพัฒนาระบบจ่ายไฟแบบสวิทชิ่ง (Swiching Power Supply) ได้สำเร็จ จึงออกเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ในขนาดกำลังขับ 160 วัตต์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของเพาเวอร์แอมป์กำลังสูง จนต่อเนื่องมาถึงในปัจจุบัน
----------------------------------
ค.ศ. 1975(พ.ศ. 2518)
มีการนำเอา “ไอซี” เข้ามาใช้กับระบบการตรวจจับคลื่นวิทยุ FM และสร้างระบบล็อคคลื่น (PLL: Phase locked loop) ทำให้คุณภาพของการรับคลื่นวิทยุดีขึ้นอย่างมาก และได้รับการยอมรับจนถึงปัจจุบัน
บริษัท ลิเนียร์ เพาเวอร์ (Linear Power) ออกเพาเวอร์แอมป์แบบ 3 แชนแนล ที่มีครอสโอเวอร์ในตัว มีกำลังขยาย 30 วัตต์ต่อแชนแนล ในสองแชนแนลแรก และอีก 60 วัตต์สำหรับหนึ่งแชนแนลที่เหลือ เพื่อใช้ขยายเฉพาะสัญญาณเสียงต่ำเพื่อขับวูฟเฟอร์
บริษัท โซนี่ ออกเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทที่มีภาครับวิทยุในตัว
-----------------------------------
ค.ศ. 1976(พ.ศ. 2519)
บริษัท Pioneer ออกสินค้าตัวใหม่ KP-500 ที่เป็นเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทพร้อมภาครับ FM โดยใช้วงจรภาครับคลื่นวิทยุแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อเรียกว่า Supertuner พร้อมปุ่มปรับเปลี่ยนช่องความถี่ขนาดใหญ่พิเศษ
บริษัท Jenzen นำเสนอลำโพงแบบ 6x9 นิ้วสามทางตัวแรก มีทั้งลำโพงเสียงแหลมและเสียงกลาง ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับวูฟเฟอร์
มีการพัฒนาเพาเวอร์บูสเตอร์(Power Booster) ซึ่งทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณเพิ่มอีกครั้ง หลังจากที่ได้ถูกขยายมาจากภายในของเครื่องเล่นมาแล้ว
บริษัท Clarion ก็นำเสนอ เครื่องปรับแต่งความถี่เสียงแบบกราฟฟิค (Graphic Equlizer) พร้อมภาคขยายในตัว ออกมาเป็นตัวแรก
บริษัท นากามิชิ (Nakamichi) เริ่มนำเสนอเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทติดรถยนต์ ในรุ่น 250
บริษัท ออดิโอโมไบล์ (AudioMobile) เสนอเพาเวอร์แอมป์รุ่น SA-500 ที่ให้กำลังขยายถึง 20 วัตต์ต่อแชนแนล มีค่าความเพี้ยน (Distortion) เพียง 0.3%
บริษัท ออดิโอโมไบล์ เป็นผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์รายแรก ที่นำรถยนต์ที่ติดตั้งระบบเสียงอย่างสมบูรณ์แบบมาจัดแสดงในงาน CES: Consumer Electronics Show ประจำภาคฤดูร้อน (Summer CES) เรียกความสนใจและความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก ส่งผลให้วงการเครื่องเสียงรถยนต์เติบโตอย่างมาก
กำเนิด “เซฟโก้(Zapco)” หนึ่งในผู้นำของเครื่องเสียงรถยนต์ยุคใหม่ ได้นำเสนอเพาเวอร์แอมป์ขนาดกำลังขับ 100 วัตต์ตัวแรกของตนออกสู่ตลาด
-----------------------------------
ค.ศ. 1977(พ.ศ. 2520)
บริษัท คอนคอร์ด(Concord) ออกเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทแบบมีปรีเอาท์(Preamp Output) ออกมาจำหน่าย
บริษัท คาร์เรียน ออกลำโพงแบบ 6x9 นิ้ว 3 ทาง สำหรับติดตั้งที่แผงลำโพงท้ายรถ(rear deck) ในรุ่น SK99
บริษัท ลิเนียร์ เพาเวอร์ ออกเพาเวอร์แอมป์ที่แยกวงจรภาคจ่ายไฟออกต่างหาก ให้กำลังขยายได้ถึง 250 วัตต์
-----------------------------------
ค.ศ. 1978(พ.ศ. 2521)
บริษัท ไครส์เลอร์ นำเสนอเครื่องเล่นวิทยุที่ใช้การจูนหาสถานีด้วยระบบอีเล็คโทรนิค (ETR: Electronic Tuned Receiver) รวมทั้งสามารถบันทึกสถานีที่ต้องการไว้ล่วงหน้า ด้วยระบบอีเล็คโทรนิคนี้ได้อีกด้วย
เทคนิคของการกวาดและล็อคคลื่นสถานีวิทยุด้วยแร่ควอทช์(Quart-PLL) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากทุกค่ายผู้ผลิต
กำเนิดบริษัท Alpine of America อันเป็นผลจากการร่วมมือกันแต่แรก ในการก่อตั้ง บริษัท Alps-Motorola ซึ่งก็ถึงคราวอวสานไปด้วยเช่นกัน
บริษัท ฟูจิสิ เทน (Fujitsu Ten) ที่เกิดจากการร่วมทุนของยักษ์ใหญ่ 3 บริษัท อันได้แก่ Toyota, Nippondenso, Fujitsu ออกเครื่องเล่นวิทยุเทปคาสเส็ทชนิดที่ใช้ระบบตัดเสียงรบกวนแบบ Dolby B
------------------------------------
ค.ศ. 1979(พ.ศ. 2522)
บริษัท ADS ออกลำโพงแยกชิ้น 2 ทางรุ่น L300i พร้อมเพาเวอร์แอมป์ขนาด 100 วัตต์ ในชื่อรุ่น Power Plate 100
โซนี่ ฉีกแนวโดยทำเครื่องเล่นแบบแยกชิ้นแต่เป็นชุดเดียวกัน คือมีเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทหนึ่งตัว ภาครับวิทยุหนึ่งตัว และมีกราฟฟิคอีควอไลเซอร์แบบ 9 แบนด์พร้อมภาคขยายอีกหนึ่งตัว พร้อมเสนอลำโพงหลายรุ่นหลายขนาดออกสู่ตลาด
------------------------------------
ค.ศ. 1980(พ.ศ. 2523)
บริษัท เคนวูด(Kenwood) นำเสนอเครื่องเล่นเทปคาสเส็ทแบบที่มี ระบบตัดเสียงรบกวนอัตโนมัติ
วิศวกรด้านอีเล็คโทรนิค สามารถเชื่อมโยงไอซี(IC Bridge)ได้สำเร็จ ส่งผลให้สามารถผลิตเครื่องเล่นวิทยุเทปแบบไฮเพาเวอร์ออกมา
------------------------------------
ค.ศ. 1981(พ.ศ. 2524)
บริษัท a/d/s สามารถคิดค้นเครื่องตัวแบ่งความถี่ต่ำสำหรับการเล่นซับวูฟเฟอร์ ออกมาได้เป็นผลสำเร็จ แล้วนำเสนอสู่ตลาดในชื่อรุ่น CS400 subwoofer/crossover system ทำให้สามารถฟังเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 80 Hz ได้แล้ว
-----------------------------------
ค.ศ. 1983(พ.ศ. 2526)
บริษัท Kenwood ออกเครื่องเล่นวิทยุเทปคาสเส็ทที่สามารถบันทึกสถานีล่วงหน้าได้ถึง 24 สถานี ทั้ง AM และ FM นอกจากนี้ยังสลับมากเล่นภาครับวิทยุได้อัตโนมัติในขณะที่กำลังกรอเทป
บริษัท Nakamichi ผลิตเครื่องเล่นวิทยุเทป รุ่น TD1200 ออกสู่ตลาด โดยมีความสามารถในการปรับมุมอสิมุธ (Azimuth) ให้การเล่นเทปทั้งสองหน้ามีความเท่าเทียมกัน
-----------------------------------
ค.ศ. 1984(พ.ศ. 2527)
กำเนิดเครื่องเล่นคอมแพ็คดิสค์(ซีดี)ในรถยนต์เครื่องแรก โดยบริษัท ไพโอเนียร์ ในรุ่น CDX-1 จากนั้นก็ตามมาด้วย SONY CDX-5 และ CDX-R7 โดยเฉพาะในรุ่น CDX-R7 จะมีภาครับวิทยุ AM/FM มาให้ด้วย
บริษัท Kenwood นำเสนอเครื่องเล่นวิทยุเทปเครื่องแรกที่สามารถดึงตัวเครื่องออกมาเก็บ ป้องกันการถูกขโมยได้
บริษัท นากามิชิ และพริซิชั่นเพาเวอร์(Precision Power) เริ่มผลิตเพาเวอร์แอมป์ที่มีหลายแชนแนล(Multi Channel Car Power Amplifier) ตัวแรกของโลก โดยนากามิชิใช้ชื่อรุ่น PA-350 ที่เป็นเพาเวอร์แอมป์ 4 แชนแนล กำลังขับแชนแนลละ 35 วัตต์ ค่าความเพี้ยน THD เพียง 0.005% เท่านั้น ส่วนของพริซิชั่นใช้ชื่อรุ่น PPI-475 เพาเวอร์แอมป์ 4 แชนแนล กำลังขับแชนแนลละ 75 วัตต์ พร้อมครอสโอเวอร์ในตัว
บริษัท SAS (Southen Audio Service) ผลิตซับวูฟเฟอร์ทรงท่อ (Tube-enclosed subwoofer) ออกมาในชื่อว่า Bazooka Bass Tube ซึ่งถือได้ว่าเป็นคู่แรกของโลก
บริษัท Kenwood พัฒนาวงจร “Blast” ขึ้นมาเพื่อลดระดับความดังลงมาที่ศูนย์อัตโนมัติเมื่อปิดเครื่อง
อัลไพน์(Alpine) นำเสนอเครื่องเล่นวิทยุเทปคาสเส็ทที่มีระบบขจัดเสียงรบกวนแบบ dbx ในชื่อรุ่น 7347
-----------------------------------
ค.ศ. 1985(พ.ศ. 2528)
กำเนิดเครื่องเล่นเทปดิจิตอล (DAT: Digital Audio Tape) เครื่องต้นแบบเครื่องแรกของโลก และถูกนำมาแสดงในงาน WCES ที่ลาสเวกัส
บริษัท ไครส์เลอร์ ออกเครื่องเล่นวิทยุระบบ AM stereo ขึ้นมา แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใดนัก
-----------------------------------
ค.ศ. 1986(พ.ศ. 2529)
โซนี่ ล้ำหน้าอีกครั้ง โดยออกเครื่องเล่นซีดีเชนเจอร์ (CD Changer)ขนาดบรรจุ 10 แผ่น ในรุ่น CDX-A10
ALPINE ออกเครื่องเล่นคาสเส็ทเชนเจอร์ (Cassette Changer) แต่มีใช้กันพักใหญ่ๆ และไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
-----------------------------------
ค.ศ. 1987(พ.ศ. 2530)
ทั้ง ไพโอเนียร์ และ โซนี่ ออกสินค้าตัวใหม่เป็นเครื่องเล่นวิทยุเทปคาสเส็ทที่สามารถควบคุม และเล่นซีดีเชนเจอร์ได้
a/d/s ออกเพาเวอร์แอมป์แบบ 6 แชนแนลตัวแรกของโลกออกมา ในรุ่น PH15 กำลังขยาย 300 วัตต์ สามารถปรับเล่นเป็น 3/4/5/6 แชนแนลได้ด้วย
Clarion ออกเครื่องเล่น DAT สำหรับใช้ในรถยนต์ออกมา
ALPINE เป็นสปอนเซอร์ให้กับงาน CAN: Car Audio Nationals ซึ่งถือว่าเป็นงานประกวดระบบเสียงในรถยนต์ระดับชาติงานแรกของโลก จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา
------------------------------------
ค.ศ. 1988(พ.ศ. 2531)
Pioneer ออกเครื่องเล่นคอมแพ็คดิสค์(ซีดี) ที่มีกำลังขยายในตัว รุ่น DEH-66
มีการนำเสนอเครื่องปรุงแต่งสัญญาณแบบใช้เฉพาะมืออาชีพ (Signal Processor) ออกมา อย่างค่าย ออดิโอ คอนโทรล(Audio Control) ก็ออก EQT อีควอไลเซอร์แบบ 30 แบนด์
------------------------------------
ค.ศ. 1989(พ.ศ. 2532)
Pioneer ทำการออกแบบ KEX-M800 เครื่องเล่นที่สามารถป้องกันการขโมยได้โดยสะดวก เพียงถอดแยกแผงควบคุมด้านหน้าออกจากตัวเครื่อง ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
พรีซิชั่น เพาเวอร์ ออก DCX-1000 ที่เป็นอีเล็คโทรนิคครอสโอเวอร์ ที่มีรีโมทคอนโทรลแบบดิจิตอล ใช้การส่งสัญญาณด้วยไฟเบอร์-ออฟติค(Fiber Optic)
กลุ่มผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์ในอเมริกา รวมกันประกาศตัวอย่างเป็นทางการในนาม “ไออาสก้า” IASCA: International Auto Sound Challenge Association พร้อมจัดการประกวดเครื่องเสียงรถยนต์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา
-------------------------------------
ค.ศ. 1990(พ.ศ. 2533)
อีคลิปส์(Eclipse) ซึ่งก็คือฟูจิสึ เทน ในอเมริกา ออกสินค้าล่าสุด EQS-1000 เครื่องปรุงแต่งสัญญาณระบบดิจิตอลสมบูร์แบบ (DSP: Digital Signal Procrssor) ที่สามารถปรับและตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับการฟังในรูปแบบของสถานที่ที่แตกต่างกัน ด้วยระบบเสียงเดียวกัน
บริษัท บลาวฟุ้งค์ ออก CDC-M1 เครื่องเล่นซีดีเชนเจอร์ในรถยนต์เครื่องแรกของโลก ที่ควบคุมเสียงด้วยไฟเบอร์-ออฟติค
นากามิชิ ออกเครื่องแปลงดิจิตอลเป็นอนาล็อก(D/A Converter) แบบ 1 บิท สำหรับเครื่องเล่นซีดีในรถยนต์เป็นเครื่องแรก
เพาเวอร์แอมป์แบบที่มีครอสโอเวอร์ในตัวเริ่มแพร่หลาย และมีการผลิตกันอย่างมากมาย
ระบบเสียงรถยนต์แบบ Center Channel ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา
Audio Control ออกผลิตภัณฑ์ในชื่อรุ่น ESP-3 ซึ่งเป็นเครื่องแต่งสัญญาณสำหรับการเล่นแบบ Center Chennel
-------------------------------------
ค.ศ. 1991(พ.ศ. 2534)
ร็อคฟอร์ด ฟอสเกต (Rockford Fosgate) แหวกวงการด้วยการออกแบบระบบเสียงรถยนต์แบบสมมาตร (Symmetry) ที่เป็นเพาเวอร์แอมป์ที่มีตัวประมวลผล ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เครื่องแรก
โซนี่ ออกเครื่องเล่นที่สามารถต่อระบบร่วมกับ DSP เพื่อการใช้งานอย่างง่ายดาย
-------------------------------------
ค.ศ. 1992(พ.ศ. 2535)
ALPINE ทำเก๋ด้วยการออกเครื่องเล่นซีดีเชนเจอร์แบบติดตั้งในหน้าปัด คือแต่เดิมเครื่องเล่นที่ทำหน้าที่ควบคุมและตัวตู้ที่บรรจุแผ่นจะแยกจากกัน ส่วนแบบติดตั้งในหน้าปัดจะอยู่รวมในเครื่องเดียวกัน สามารถนำมาติดตั้งที่แผงคอนโซลหน้ารถยนต์ในตำแหน่งของช่องวิทยุปกติ สามารถเล่นได้ 3 แผ่น ชื่อรุ่น 7980 หลังจากนั้น เดนอน(Denon) ก็ออกตามมาแต่เป็นแบบ 5 แผ่น โดยมีตัวควบคุมแยกต่างหาก และวางในตำแหน่งใกล้เคียงกัน
Eclipse ผุ้นำของระบบ DSP ก็ออกรุ่นใหม่ EQS-2000 ที่เป็น DSP แบบมีปลั๊กเชื่อมในตัว เพื่อเพิ่มส่วนการปรับแต่งในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยส่งผ่านสัญญาณทางไฟเบอร์-ออฟติค
Infinity เสนอรุ่น DPA-275 ที่เป็นเพาเวอร์แอมป์กำลังขยาย 150 วัตต์ ที่ใช้แนววงจรในแบบ คลาส-ดี (Class D)
--------------------------------------
ค.ศ. 1993(พ.ศ. 2536)
SONY ออก MDX-U1 ที่เป็นเครื่องเล่นมินิดิสค์ในรถยนต์พร้อมภาครับวิทยุในตัวเครื่องแรกของโลก สามารถควบคุมซีดีเชนเจอร์ได้ด้วย พร้อมถอดแผงหน้าออกเพื่อกันขโมยได้อีกด้วย
เดนอน ออกเครื่องเล่นวิทยุเทปเครื่องแรกที่ใช้ระบบ RDBS ทำให้ภาครับสามารถแสดงรายละเอียดต่างๆเป็นตัวอักษรบนจอแสดงผล เช่น ชื่อสถานีที่กำลังรับฟัง หรือรายงานสภาพการจราจร
Panasonic ออก CQ-DC1 เครื่องเล่นเทปดิจิตอล DCC ติดรถยนต์พร้อมภาครับวิทยุในตัวเครื่องแรกของโลก ที่สามารถควบคุมการเล่นซีดีเชนเจอร์ แล้วยังสามารถเล่นกับเทปคาสเส็ทแบบอนาล็อกเดิมได้ด้วย