เทคนิคป้องกันเสียงรบกวนในเพาเวอร์แอมป์เบื้องต้น
- วันที่: 03/05/2014 15:40
- จำนวนคนเข้าชม: 6328
เสียงรบกวนที่พบเจอในเพาเวอร์แอมป์ส่วนใหญ่ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ นั่นคือเสียงรบกวนที่สัมพันธ์โดยตรงกับยานพาหนะ และเสียงรบกวนที่ไม่สัมพันธ์กับยานพาหนะ
ในการทำงานระบบพื้นฐานเราจะไม่ใช่วิธีการติดตั้ง “ตัวขจัดเสียงรบกวน” หรือ “ตัวแยกวงรอบกราวน์” เข้าไปในระบบเพื่อทำหน้าที่ “ยับยั้ง” เพราะนั่นอาจจะไปจำกัดขอบเขตการทำงานของระบบเสียง
ควรลองตรวจเช็คด้วยขั้นตอนเทคนิคป้องกันเสียงรบกวนเบื้องต้นดังต่อไปนี้ดูเสียก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการปกป้องปัญหาของเสียงรบกวนที่ต้นเหตุ ซึ่งสัมพันธ์กับเสียงรบกวนในแรงดันไฟ รวมถึงสาเหตุบางอย่างของการแพร่กระจายเสียงรบกวน อันเป็นขั้นตอนที่ควรตรวจตราก่อนจะเริ่มงานติดตั้ง
เสียงรบกวนที่มาจากแพร่กระจาย:
การแพร่กระจายเสียงรบกวนมักมีสาเหตุมาจาก ปัญหาบางอย่างที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอุปกรณ์ระบบเสียงที่จะติดตั้งไว้ในระบบ อาทิเช่น
•อุปกรณ์พื้นฐานในระบบเสียงที่มักดึงดูดเอาเสียงรบกวนที่แพร่กระจายเหล่านั้นเข้ามาในระบบเสียง ก็ได้แก่: สายสัญญาณ RCA, พาสซีฟครอสโอเวอร์ และภาคจ่ายไฟในเพาเวอร์แอมป์
•อุปกรณ์ในตัวรถเองบางชิ้นสามารถผลิตเสียงรบกวนเพื่อแพร่กระจายออกมา ได้แก่: ปั้มน้ำมันไฟฟ้า, สายไฟหัวเทียนที่ไม่มีระบบป้องกัน RFI, กล่องสมอง ECU, กล่องควบคุมเบรก ABS, กล่องควบคุม Airbag, กล่องควบคุมพวงมาลัยเพาเวอร์
•เราสามารถค้นหาตำแหน่งต้นตอที่เกิดเสียงรบกวนนี้ได้ ด้วยการใช้เครื่องค้นหาเสียงรบกวน
เสียงรบกวนในแรงดันไฟ:
เสียงรบกวนในแรงดันไฟเป็นปัญหาปกติพื้นฐาน และมักมีความสัมพันธ์กับการสตาร์ทเครื่องยนต์ และระบบประจุไฟแบตเตอรี่ของยานพาหนะ
•อาการสามัญ: เสียงหวีดหวิวที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคุณกดหรือผ่อนแป้นคันเร่ง , เสียงรบกวนที่เริ่มขึ้นเมื่อคุณสตาร์ทเครื่องยนต์หรือเมื่อวิ่งรถไปชั่วครู่ รวมถึงเสียงป็อปและคลิ๊ก เมื่อคุณเปิดใช้งานอุปกรณ์ประจำรถบางชิ้น
•สาเหตุ: แบตเตอรี่อาจจะหมดสมรรถภาพ(เก็บไฟไม่เต็ม), อัลเตอร์เนเตอร์(หรือไดชาร์จ)เสียหาย/หย่อยสมรรถภาพ, ไดสตาร์ทอ่อนกำลัง ทำให้ดึงกำลังไฟจากแบตเตอรี่จนหมด, จุดลงกราวน์หลักไม่สมบูรณ์, ขั้วที่หัวแบตเตอรี่มีตะกันหรือหลวม
•การตรวจสอบเร่งด่วน: ตรวจเช็คสภาพไฟแบตเตอรี่ ซึ่งควรมีแรงดันไฟในระดับ 12.3 ถึง 12.6 โวลท์ขณะไม่สตาร์ทเครื่อง และ 13.8 ถึง 14.7 โวล์ทขณะสตาร์ทเครื่อง