15 แทรคเพลง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพระบบเสียง
- วันที่: 03/05/2014 15:57
- จำนวนคนเข้าชม: 8610
01: Yello, Oh Yeah
แทรคแรกเป็นของศิลปิน YELLO แทรคเพลง OH YEAH ที่จะใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของ “เบสกระเดื่อง(Kick Bass)” และ “เสียงร้องย่านต่ำ(Low voice)”
02: Fugees, Nappy Heads
แทรคนี้เป็นของศิลปิน Fugees แทรคเพลง Nappy Heads ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของ “เบสย่านต่ำ(Low bass)” , “ย่านมิดเบส(Mid bass)” และ “การสั่นกระพือของแผงประตู(Door buzz)”
03: Talking Heads, Flowers
แทรคของศิลปิน Talking Heads แทรคเพลง Flowers ใช้ตรวจสอบ/วิเคราะห์ประสิทธิภาพเสียง “เบสกระเดื่อง(Kick bass)”, “การสั่นกระพือของแผงประตู(Door buzz)” และ “ดอกวูฟเฟอร์(Woofer)” ในระบบ
04: Radiohead, Packt Like Sardines
ศิลปิน Radiohead แทรคเพลง Packt Like Sardines จะใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของเสียง “เบสกระเดื่อง(Kick bass)”, “การสั่นกระพือของแผงประตู(Door buzz)” และ “ความผิดเพี้ยนของดอกวูฟเฟอร์(Woofer distortion)” ในระบบ
05: Peter Gabriel, Growing Up
แทรคของศิลปิน Peter Gabriel แทรคเพลง Growing Up ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของ “เบสย่านต่ำ(Low bass)”, “เบสกระเดื่อง(Kick bass)” และ “การสั่นกระพือของแผงประตู(Door buzz)”
06: Joan Baez, Diamonds And Rust
แทรคของศิลปิน Joan Baez แทรคเพลง Diamonds And Rust ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของ “สภาพแวดล้อมเสียง(Ambience)”, “เสียงย่านสูง(Treble)” และ “ความสมดุลของเสียง(Tonal balance)
07: Black Eyed Peas, Just Can’t Get Enough
ศิลปิน Black Eyed Peas แทรคเพลง Just Can’t Get Enough ใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเสียง “เบสย่านต่ำ(Low bass)”, “เบสกระเดื่อง(Kick bass)” และ “การสั่นกระพือของแผงประตู(Door buzz)”
08: Mariah Carey, Butterfly
ศิลปิน Mariah Carey แทรคเพลง Butterfly ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพเสียง “สภาพแวดล้อม(Ambience)”, “เสียงย่านสูง(Treble)” และ “ความสมดุลน้ำเสียง(Tonal balance)”
09: Suzane Vega, Tom’s Diner
ศิลปิน Suzane Vega แทรคเพลง Tom’s Diner ถูกใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ “จินตภาพเสียงกึ่งกลาง(Center imaging)”
10: Jennifer Warnes, Somewhere Somebody
ศิลปิน Jennifer Warness กับแทรคเพลง Somewhere Somebody ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของ “จินตภาพเสียงกึ่งกลาง(Center imaging)”, “ย่านเสียงมิดเบส(Mid bass)”, และ “ความสมดุลของน้ำเสียง(Tonal balance)”
11: Steve Strauss, Mr. Bones
ศิลปิน Steve Strauss แทรคเพลง Mr. Bones จะใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ “จินตภาพเสียงกึ่งกลาง(Center imaging)”, “เสียงมิดเบส(Mid bass)”, และ “สมดุลของน้ำเสียง(Tonal balance)”
12: John Coltrane, My Lazy Bird/My Favorite Things
ศิลปิน John Coltrane แทรคเพลง My Favorite Things ใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของ “ย่านเสียงสูง(Treble)”, “ความผิดเพี้ยนของเสียงทวีตเตอร์(Tweeter distortion)”
13: Carl Orff, Carmina Burana
ศิลปิน Carl Orff แทรคเพลง Carmina Burana ใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ “เสียงแหลม(Treble)”, “ความเพี้ยนของเสียงทวีตเตอร์(Tweeter distortion)”, และ “พลวัติของเสียง(Dynamics)”
14: Vivaldi, Four Seasons: The Summer
ศิลปิน Vivaldi แทรคเพลง Four Seasons: The Summer ถูกใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ “เสียงแหลม(Treble)”, “ความเพี้ยนของเสียงทวีตเตอร์(Tweeter distortion)”, และ “ความกว้างของพื้นเวทีเสียง(Stage width)”
15: Eagles, Hotel California Live
ศิลปิน Engles กับแทรคเพลงฮิตตลอดกาลอย่าง Hotel California (Live) ถูกใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของ “เสียงย่านต่ำ(Low bass)”, “เสียงมิดเบส(Mid bass)”, “สภาพแวดล้อมเสียง(Ambience)”, “ความกว้างของพื้นเวทีเสียง(Stage width)” และ “สมดุลของน้ำเสียง(Tonal balance)
ทั้งหมดนี้คือแทรคเพลงทั้ง 15 แทรค ที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์สภาพแห่งคุณภาพเสียงในระบบเสียงรถยนต์ ก่อนที่จะดำเนินการปรับตั้ง หรือปรุงแต่ง เพื่อให้ได้ไปถึงที่สุดของ “คุณภาพเสียง” อันหมายถึง การได้มาซึ่งการตอบสนองความถี่ที่คล้ายคลึงกับ “ต้นฉบับเสียง” หรือ “เพลง” ที่ใส่เข้าไปนั่นเอง
คำว่า “คุณภาพเสียงที่ดี” มิได้หมายถึงรูปแบบเสียง ที่คนส่วนใหญ่ชอบ หรือโหวตว่าชอบมากที่สุด แต่คุณภาพเสียงที่ดีในความหมายทาง “ระบบเสียง” นั้น หมายถึงความสามารถของระบบเสียง ที่สามารถถ่ายเท-ส่งถอดเสียงมาตามอุปกรณ์จนออกถึงปลายทาง(ชุดลำโพง) แล้วได้ “แถบรูปคลื่นเสียง” เหมือนกับ “ซอร์ส(Souces)” หรือ “แผ่น” หรือ “ไฟล์” ที่ใส่เข้าไป...ต่างหาก