• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

#รู้ก่อนสาย_วิธีเลือกงานออกแบบตู้ซับฯแบบปิด(ClosedBox)หรือแบบเปิด(VentedBox)

  • วันที่: 24/05/2016 15:16
  • จำนวนคนเข้าชม: 21977

#รู้ก่อนสาย_วิธีเลือกงานออกแบบตู้ซับฯแบบปิด(ClosedBox)หรือแบบเปิด(VentedBox)

โดยหลักพื้นฐานของการเลือกงานออกแบบตู้ซับฯ ในแบบปิดทึบและแบบเปิดระบาย จะใช้ปัจจัยในการเลือกใช้ด้วยเหตุของความเหมาะสม 2 ประการด้วยกัน นั่นคือ

1.เลือกด้วยลักษณะเด่น/ลักษณะด้อย ของแบบตู้ซับฯ

2.เลือกด้วยความเหมาะสมของดอกลำโพงเอง ด้วยค่าเฉพาะ EBP 

----------------------------------------------

1.เลือกด้วยลักษณะเด่น/ลักษณะด้อย ของแบบตู้ซับฯ อันได้แก่

ตู้แบบปิดทึบ:Closed Box

เป็นงานออกแบบตู้ซับเบส ที่ผนึกปริมาตรอากาศเอาไว้ภายในแบบปิดทึบ(ไม่มีการรั่วไหลใดๆ) เป็นงานที่ประดิษฐ์ได้ง่าย ปริมาตรอากาศที่อยู่ภายในซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่า Vas ของดอกลำโฑง จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของดอกลำโพง ใช้ได้ดีกับดอกลำโพงที่มีค่า Qts อยู่ระหว่าง 0.3 ถึง 0.9 และมีค่า Fs ต่ำกว่า 40Hz

ลักษณะเด่น

-สามารถรองรับกำลังขับได้สูง

-ไม่ต้องแม่นยำกับค่าการกักเก็บปริมาตรอากาศมากนัก

-ให้การตอบสนองความถี่ ที่สม่ำเสมอ ราบรื่น

-การสร้างหรือประดิษฐ์ ทำได้สะดวกกว่า

ลักษณะด้อย

-กินกำลังวัตต์จากเพาเวอร์แอมป์

ตู้แบบเปิดระบาย(Vented Box)

เป็นงานออกแบบตู้ซับเบส ที่มีชื่อเป็นทางการว่า “ตู้เบสแบบสะท้อนคลื่นเบส(Bass Reflex)” มีลักษณะเป็นตู้ปิดทึบ ที่ยอมให้มวลอากาศด้านหลังดอกลำโพง ย้อนกลับไปทำปฎิกริยากับมวลอากาศด้านหน้าดอกลำโพง สามารถปรับเปลี่ยนความยาวหรือพื้นที่ของท่อระบาย เพื่อเปลี่ยนความถี่เฉพาะที่เกิดขึ้นภายในท่อระบายเบสได้ ใช้ได้ดีกับดอกลำโพงที่มีค่า Qts ระหว่าง 0.1 ถึง 0.4 และมีค่า Fs ต่ำกว่า 30Hz - 40Hz

ลักษณะเด่น

-กำหนดให้เสียงเบสได้ต่ำลึก (เมื่อกำหนดความถี่ท่อระบาย ตามค่า Fs ของดอก)

-มีการเคลื่อนตัวของกรวยดอกลำโพงน้อยกว่า ควบคุมโดยคลื่นความถี่ที่ท่อระบายเบส

ลักษณะด้อย

-ต้องใช้ความแม่นยำในการกำหนดปริมาตรตู้ และท่อระบายเบสอย่างถูกต้อง

-ต้องควบคุมการทำงานของดอกลำโพง สำหรับความถี่ที่ต่ำกว่าความถี่ของท่อระบายเบส

----------------------------------------------

2.เลือกด้วยความเหมาะสมของดอกลำโพงเอง ด้วยค่าเฉพาะ EBP ที่หาได้จากค่าปัจจัยพื้นฐาน (T/S parameter) ของดอกซับวูฟเฟอร์ (ค่า EBP ได้มาจาก Fs/Qes)

ค่า EBP อยู่ระหว่าง 0 ถึง 50 เหมาะสมกับการออกแบบตู้ซับฯแบบปิดทึบ(Closed Box) เท่านั้น

ค่า EBP ระหว่าง 50 ถึง 90 สามารถเลือกการออกแบบตู้ซับฯ ได้ทั้งแบบปิดทึบและแบบเปิดระบาย

ค่า EBP ระหว่าง 90 ถึง 200 เหมาะสมกับการออกแบตู้ซับฯแบบเปิดระบาย(Vented Box)เท่านั้น

----------------------------------------------

สำหรับความสามารถในการตอบสนองคลื่นความถี่ย่านต่ำๆ มักจะถูกจำกัดด้วยค่า Fs ของดอกลำโพงเอง แต่สามารถใช้งานออกแบบตู้ ทำการปรับเปลี่ยนค่าตอบสนองความถี่ย่านต่ำ (หรือค่า F3 ของตู้ซับฯ) ให้ได้ความถี่ย่านต่ำตามที่ต้องการ