คุณรู้หรือไม่ว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เส้นลวดตัวนำ มีความต้านทานเพิ่มสูงขึ้น
- วันที่: 08/10/2014 14:09
- จำนวนคนเข้าชม: 10181
เส้นลวดตัวนำในที่นี้ เราหมายถึง “สายไฟ” เกือบทุกรูปแบบในระบบเสียง ตั้งแต่สายนำไฟเมน จรดไปจนถึงสายนำสัญญาณ RCA รวมไปถึง “คอยล์” หรือกลุ่มขดลวดที่ติดตั้งอยู่บนแผงพาสซีฟ-ครอสโอเวอร์ และเส้นลวด “วอยซ์คอยล์” ในดอกลำโพงเอง
จากภาพประกอบ เราขอยกตัวอย่าง ลวดเบอร์ 20 AWG ที่นิยมนำมาพันเป็นกลุ่มขดลวด(air coil) เพื่อใช้กับวงจรผ่านเสียงย่านต่ำในพาสซีฟ-ครอสโอเวอร์ ของชุดลำโพงกลางแหลม
ที่อุณหภูมิทำงานที่ 25 องศา เซลเซียส จะมีความต้านทานต่อ 1000 ฟุต อยู่ที่ 10.4 โอห์ม
แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นไปถึง 65 องศา เซลเซียส ค่าความต้านทานต่อ 1000 ฟุต สูงขึ้นถึง 11.9 โอห์ม (เพิ่มขึ้น 1.5 โอห์ม)
ค่าความต้านทานที่เพิ่มขึ้นนี้ จึงมีผลทำให้ “กระแส” ที่ไหลผ่านเส้นลวดตัวนำ มีระดับโวลต์และกระแสลดลงตามสัดส่วนของโอห์มที่เพิ่มขึ้น
สำหรับเส้นลวดตัวนำ ที่มีเบอร์ใหญ่ขึ้น อาทิ 4 AWG จะมีค่าความต้านทานต่อ 1000 ฟุต ณ อุณหภูมิปกติ 25 องศา อยู่ที่ 0.253 โอห์ม และเพิ่มสูงขึ้น ณ อุณหภูมิ 65 องศา อยู่ที่ 0.292 โอห์ม หรือเพิ่มขึ้น 0.039 โอห์ม
เส้นลวดตัวนำขนาดใหญ่นั้น จะมีผลต่ออุณหภูมิน้อยกว่าเส้นลวดตัวนำขนาดเล็ก ซึ่งมักใช้ใน “สายนำสัญญาณ” , “สายลำโพงกลางแหลม” รวมไปถึงใน Coil ของพาสซีพ อย่างกล่าวไปแล้ว
ดังนั้น การปกป้องสายนำสัญญาณ สายลำโพง รวมถึงกล่องพาสซีพ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสภาพอุณหภูมิภายนอก ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะมีผลทำให้ไม่เกิดการ “เพิ่มค่าความต้านทาน” ขึ้นในสายหรือเส้นลวดตัวนำ
ส่วนกรรมวิธีนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย ทั้งการเลือกใช้สายนำสัญญาณและสายลำโพง ที่มีเปลือกหรือฉนวนหุ้มที่ป้องกันผลกระทบเรื่องอุณหภูมิ รวมไปถึงกล่องพาสซีพที่ออกแบบมาให้ป้องกันสภาพอุณหภูมิภายนอกเข้าไปกระทบต่อ coil หรือ air coil ในวงจรพาสซีพ
สุดท้ายนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ต้องใส่ใจดูแล สำหรับการประชัน “ความดังเสียง” ที่ทำไมถึงวัดค่าเดซิเบลในตอนเที่ยงๆแดดจัดๆ ได้น้อยกว่าวัดในตอนพลบค่ำหรือตอนกลางคืน!!!!!!!