• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

GPS ระบบพิกัดแผนที่ผ่านดาวเทียม

  • วันที่: 22/08/2014 17:23
  • จำนวนคนเข้าชม: 10005

ระบบจีพีเอส(GPS) ถูกสร้างสรรค์และบรรลุเป็นผลสำเร็จโดยกระทรวงกลาโหมของอเมริกา (American Department of Defense-DOD) และจากเดิมที่มีเครือข่าวดาวเทียม 24 ดวง (ดาวเทียมใช้งานจริง 21 ดวง และดาวเทียมสับเปลี่ยนอีก 3 ดวง) จนถึงปัจจุบันมีดาวเทียมใช้งานจริงประมาณ 30 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลกในความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร ดาวเทียม GPS จะรับหน้าที่เป็นสื่อสัญญาณเพื่อระบุตำแหน่งของเครื่องรับ GPS ที่เปิดใช้งานบนพื้นผิวของโลก, ในขั้นบรรยากาศ หรือในตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่าวงโคจร GPS ถูกนำไปใช้ในทางการบิน, เกี่ยวกับการเดินเรือของกองทัพเรือ และการกลับเข้าหาฝั่งของเรือเดินสมุทร และมันยังถูกนำไปใช้ในการสำรวจภูมิทัศน์และการประยุกต์ใช้งานต่างๆที่ต้องใช้การระบุตำแหน่งที่แม่นยำ เครื่องรับสัญญาณ GPS นั้นเราสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ มีเพียงเรื่องเดียวที่จำเป็น กล่าวคือต้องไม่มีอะไรมาขัดขวางการที่เครื่องรับ GPS จะมองเห็นดาวเทียม(หรือต้องมองเห็นท้องฟ้านั่นเอง)

ชื่อเป็นทางการของระบบก็คือ NAVSTAR (Navigation System for Timing and Ranging หรือ ระบบนำทางสำหรับการจับเวลาและตั้งระยะ) หรือที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ GPS (Global Positioning System หรือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก)

GPS หรือ Global Positioning System เป็นระบบบอกพิกัดตำแหน่งจากดาวเทียม 24-30 ดวงของกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งจุดต่างๆ ได้ทั่วโลก ดาวเทียมที่ว่านี้จะโคจรอยู่รอบโลกในแนวเส้นรุ้ง (Latitude) และ เส้นแวง (Longitude) ที่ความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปให้กับเครื่องลูกข่าย ในอดีตระบบ GPS จะใช้ในการบอกพิกัดจุดสำคัญต่างๆทางการทหาร แต่ต่อมาได้ยกเลิก และสามารถใช้งานได้นอกเหนือไปจากทางการทหาร

ปัจจุบัน GPS ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลรุ่นใหม่ๆ รวมถึงอุปกรณ์ใช้งานในรถยนต์เพื่อความบันเทิง (IN CAR Entertainment) เพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเหล่านั้นในการบอกตำแหน่งและนำทาง หน้าที่ของ GPS คือการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ของเรากับดาวเทียม เพื่อระบุตำแหน่งของอุปกรณ์สื่อสารของเราว่าอยู่บริเวณพื้นที่ใดของโลก

การใช้งาน GPS สามารถแบ่งการใช้งานได้ 3 รูปแบบ

1.แบบระบุตำแหน่ง(Positioning) เป็นการแจ้งพิกัดในแบบละติจูดและลองติจุด สำหรับอุปกรณ์บางเครื่อง/บางรุ่น อาจจะสามารถแสดงความสูงจากระดับน้ำทะเลได้ด้วย

2.แบบระบุตำแหน่งและนำทาง(Navigation) เป็นการบอกพิกัดตำแหน่งปัจจุบัน และนำทางจากต้นทางไปยังจุดปลายทาง การใช้งานแบบ Navigation นี้จะต้องใช้ซอฟต์แวร์และแผนที่ ควบคู่กับการใช้งาน GPS ด้วย อาทิเช่น PowerMap, Speed Navi ฯลฯ

3.แบบการตรวจสอบตำแหน่ง(Tracking) จะคล้ายกับแบบการระบุตำแหน่ง(Positioning) เพียงแต่เราจะเห็นตำแหน่งของเราเองได้บนแผนที่ของซอฟต์แวร์ ต่างจากแบบแรกที่ระบุเพียงพิกัด การตรวจสอบตำแหน่งผ่าน GPS นั้น เราสามารถตรวจสอบตำแหน่งของเราเองและบุคคลอื่นๆได้

ระบบ GPS สามารถนำไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ซึ่งก็คือจะใช้ในการนำทาง โดยเฉพาะซอฟต์แวร์แผนที่สมัยมีความละเอียดมาก ในแผนที่จะมีข้อมูลเกือบครบทุกอย่าง เช่น ปั้มน้ำมัน, ร้านค้า, โรงแรม สถานที่สำคัญต่างๆ ในขณะเดินทางก็สามารถบอกตำแหน่งเราก็ได้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ใด ข้างหน้ามีแยกอะไรบ้าง มีลูกศรและข้อความเสียงบอกตลอดทางเพื่อนำทางไปยังจุดหมายปลายทาง สำหรับการใช้งาน GPS นี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพิ่ม เพียงแค่มีอุปกรณ์สื่อสารที่มีเสารับส่งสัญญาณ GPS อยู่ในตัว

ประวัติและพัฒนาการของดาวเทียม  GPS

ในศตวรรษที่  20 ซึ่งมีการพัฒนาเครื่องส่งวิทยุ มีผลทำให้เครื่องช่วยการเดินทางได้มีการพัฒนาไปอีกขั้น เรียกกันว่า  Radio  beacons  รวมถึง  Loran  และ  Omega  ซึ่งในที่สุดเทคโนโลยีของดาวเทียมทำให้เครื่องช่วยการเดินทางและการหาตำแหน่ง สามารถใช้การพิจารณาจากเส้นที่สัญญาณเดินทางผ่าน ด้วยการวัดของ  Doppler  กับตำแหน่งที่เคลื่อนที่ไป  โดยในระบบ  Transit  เป็นระบบเครื่องช่วยการเดินเรือโดยดาวเทียม  ได้รับการคิดค้นสำเร็จในปี  ค.ศ.1950  และใช้งานอยู่นานถึง  33 ปี  ก่อนปลดประจำการ ระบบ  Transit  ถูกพัฒนาเพื่อให้ข้อมูลการหาตำแหน่งที่แน่นอนให้กับเรือดำน้ำ  Polaris  ที่มีจรวดนำวิถี  หลักการคือ  การคาดการณ์โดยใช้ความถี่  Doppler  ที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปจากดาวเทียม  Sputnik  ซึ่งถูกส่งขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในเดือนตุลาคม  1957  สัญญาณที่เปลี่ยนไปของ  Doppler  สามารถพิจารณาการโคจรของดาวเทียม และใช้ข้อมูลนั้นจดเอาไว้ที่สถานีหนึ่งเมื่อดาวเทียมโคจรผ่านไป  ระบบ  Transit  จะประกอบด้วย  ดาวเทียม  6  ดวงที่เรียงกันเกือบเป็นวงกลม  มีวงโคจรผ่านขั้วโลกที่ความสูง  1,075  กิโลเมตร  ระยะเวลาของการหมุน  107  นาที  การโคจรของดาวเทียมนี้ ทำให้ Transit มีความแน่นอนจากการติดตามของสถานีภาคพื้นที่กำหนดไว้  มีประสิทธิภาพความเร็วที่แน่นอน  35  ถึง  100  เมตร  รอบต่อนาที  ปัญหาของ  Transit  ก็คือการครอบคลุมพื้นที่ ที่มีช่องว่างระหว่างกันสูงมาก  ผู้ใช้ต้องคำนวณโดยการ  interpolate  ตำแหน่งของตนเองในระหว่างที่ดาวเทียมโคจรผ่านไป

ความสำเร็จของ  Transit  เป็นการกระตุ้นให้ทั้งกองทัพเรือและกองทัพอากาศของสหรัฐฯ พิจารณาระบบช่วยการเดินทางที่ก้าวหน้ากว่าเดิมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯได้ผลิตระบบการหาตำแหน่ง  Navstar  แบบทั่วทั้งโลก  ซึ่งจะใช้ในการระบุตำแหน่งการจรวดนำวิถี ทั้งทางบกและทางอากาศ และยังสามารถบ่งบอกได้ว่ากองกำลังทหารอยู่ที่ใดของสนามรบ และนั่นก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตคิดค้นระบบวิธีการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก  ซึ่งระบบ GPS จะแตกต่างกับระบบ  Transit ตรงที่ว่าระบบ GPS ให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องและให้ความถูกต้องแม่นยำกว่า จนถึงปัจจุบันดาวเทียม GPS ได้ถูกสร้างและพัฒนามาแล้วกว่า 4 รุ่น ด้วยกัน

ลำดับขั้นการพัฒนา NAVSTAR GPS

1973                 เริ่มตัดสินใจที่จะทำการพัฒนาระบบนำทางด้วยดาวเทียม โดยใช้พื้นฐานของระบบ TRANSIT, TIMATION und 621B ของกองทัพอากาศและกองทัพเรือแห่งสหรัฐอเมริกา

1974-1979        ทำการทดสอบระบบ

1977                 ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องรับสัญญาณเครื่องแรก ก่อนที่จะเริ่มส่งดาวเทียมขึ้นไปประจำบนวงโคจร ติดตั้งระบบส่งสัญญาณบนพื้นโลกที่เรียกว่า Pseudolites (หรือการหลอกดาวเทียม)

1978-1985        เริ่มเปิดตัวดาวเทียมรวมจำนวน 11 Block I

1979                 ตัดสินใจขยายระบบ GPS โดยบีบอัดทรัพยากรให้สั้นลงและใช้โปรแกรมปรับโครงสร้าง ในขั้นต้นใช้ดาวเทียมในการทำงานแค่เพียง 18 ดวง จนกระทั่งในปี 1988 จึงมีจำนวนดาวเทียมเพิ่มขึ้นเป็น 24 ดวง อันเนื่องจากฟังค์ชั่นใช้งานของดาวเทียมแค่ 18 ดวงไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ

1980                 เริ่มเปิดใช้ดาวเทียม Block I ตัวแรก ที่มีระบบตรวจจับระเบิดปรมาณู โดยดาวเทียมนี้จะถูกควบคุมโดยข้อตกลงปี 1963 ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ที่ว่าด้วยการยกเลิกการทดสอบนิวเคลียร์ใดๆบนแผ่นดิน, น้ำ หรือในอวกาศ

1980-1982        สถานภาพทางการเงินของโครงการเข้าสู่ขั้นวิกฤต ถูกตรวจสอบความสำคัญที่เป็นประโยชน์ของระบบอีกครั้ง และยังคงได้รับการสนับสนุนต่อไป

1983                 เกิดเหตุเครื่องบินพลเรือนของสายการบินเกาหลี(เที่ยวบินที่ 007) ร่วงตกลงสู่พื้น หลังจากบินเข้าไปเหนือน่านฟ้าสหภาพโซเวียต นั่นจึงเป็นการเริ่มต้นที่จะอนุญาตให้พลเรือนใช้ระบบ GPS ได้

1986                 อุบัติเหตุของกระสวยอวกาศ “Challenger”(ชาเลนเจอ) ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของโปรแกรม GPS ซึ่งยังไงก็ตามกระสวยอวกาศก็ถูกใช้ในการขนส่งดาวเทียม GPS Block II ขึ้นสู่วงโคจร และท้ายที่สุดผู้ประกอบการด้านโปรแกรมก็หันไปใช้จรวด Delta แทน ในการขนส่งดาวเทียมเหมือนครั้งแรก

1989                 ดาวเทียม Block II ตัวแรกถูกติดตั้งและเปิดใช้งาน

1990-1991        การคัดเลือกสัญญาณถูกปิดระหว่างสงครามอ่าว(Gulf War) ทำให้เครื่องรับ GPS ของพลเรือนไม่สามารถใช้ได้ เพื่อให้กองทัพสามารถใช้งานระบบได้อย่างเพียงพอ จนกระทั่งวันที่ 1 July 1991 ระบบจึงถูกเปิดใช้งานอีกครั้ง

08/12/1993       เริ่มประกาศใช้ระบบ IOC (Initial Operational Capability) และเป็นปีเดียวกับที่มีการอนุมัติให้พลเรือนทั่วโลกได้ใช้งานฟรี

March 1994       ดาวเทียม Block II ดวงสุดท้าย ถูกติดตั้งเพื่อความสมบูรณ์ของระบบ

17/17/1994       ประกาศใช้ระบบดำเนินการ FOC (Full Operational Capability)

01/05/2000       เปิดใช้งานระบบคัดเลือกสัญญาณครั้งสุดท้าย และทำการปรับปรุงความถูกต้องแม่นยำสำหรับผู้ใช้พลเรือน จากระยะประมาณ 100 เมตร เป็น 20 เมตร

20/03/2004       เปิดตัวดาวเทียม GPS รุ่น 50

25/09/2005       เปิดตัวดาวเทียม GPS IIR-M ตัวแรก เพื่อสนับสนุนมาตรฐานทางการทหารใหม่เป็น M-signal และมีสัญญาณที่สองสำหรับพลเรือนเป็นรหัส L2C

องค์ประกอบของระบบ

โดยทั่วไปเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม(Receiver) ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1.ตัวเครื่อง(Body)

2.ส่วนให้พลังงาน(Power  Supply)

3.ส่วนเสาอากาศ(Antenna)

ประเภทเครื่องรับสัญญาณ  GPS

เครื่องรับสัญญาณ GPS แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

1.เครื่องรับแบบเรียงลำดับสัญญาณดาวเทียม ได้แก่

1.1.Starved-Power  Single  Receivers  เครื่องแบบนี้ออกแบบให้พกพาได้ง่าย และสามารถทำงานได้ด้วยถ่านไฟฉายขนาดเล็ก  การจำกัดการใช้กระแสไฟโดยให้ปิดการทำงานตัวเองโดยอัตโนมัติ  เมื่อแสดงตำแหน่งครั้งสองครั้งใน  1  นาที  เหมาะสำหรับใช้งานบอกตำแหน่งส่วนตัว มีข้อด้อยคือ  ความถูกต้องแม่นยำของ  GPS  ไม่ดี  และต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นไม่ได้  และไม่สามารถใช้วัดหาความเร็วได้

1.2.Single  Channel  Receivers  เป็นเครื่องรับสัญญาณช่องเดียวใช้หาระยะจากดาวเทียมทุกดวง  แต่ที่ไม่เหมือนคือ เครื่องรับช่องเดียวแบบมาตรฐานไม่จำกัดกำลังไฟ  ดังนั้นจึงทำการรับต่อเนื่องได้  มีผลทำให้ความถูกต้องสูงกว่า  และใช้วัดหาความเร็วได้

1.3.Fast-Multiplexing  Single  Receivers  เครื่องรับแบบนี้สามารถเปลี่ยนดาวเทียมได้เร็วกว่ามาก  ข้อดีคือ สามารถทำการวัดได้ในขณะที่กำลังรับข้อมูลจากดาวเทียม  ดังนั้นเครื่องจึงทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

1.4.Two-Channel  Sequencing  Receivers  การเพิ่มช่องรับสัญญาณขึ้นอีกหนึ่งช่อง ช่วยให้เครื่องเพิ่มขีดความสามารถขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

2.แบบ Continuous  Receivers  เป็นเครื่องรับที่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมพร้อมกันได้ตั้งแต่  4  ดวงขึ้นไป  และสามารถแสดงผลค่าตำแหน่งและความเร็วได้ทันที หรือมีความถูกต้องสูง นอกจากนี้มีข้อดีที่ใช้วัดตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง

หลักการทำงานของ  GPS

หลักการพื้นฐานของ  GPS  เป็นเรื่องไม่สลับซับซ้อน หากเพียงแต่อุปกรณ์หรือเครื่องมือจะต้องถูกสร้างขึ้นด้วยวิทยาการขั้นสูง  การทำงาน  GPS  คือ

1.หลักพื้นฐานของ  GPS  :  Satellites  Triangulation

อาศัยตำแหน่งของดาวเทียมในอวกาศเป็นจุดอ้างอิง  แล้ววัดระยะจากดาวเทียม  4  ดวง  โดยใช้หลักการทางเรขาคณิตในการคำนวณหาตำแหน่งบนพื้นโลก

2.วัดระยะทางระหว่างเครื่องรับ  GPS  กับดาวเทียม  GPS  โดยการวัดระยะเวลาที่คลื่นวิทยุนั้นใช้ในการเดินทางจากดาวเทียมสู่เครื่องรับ ด้วยเวลาเดินทางของคลื่นวิทยุ

สูตร  :  ระยะทาง  =  ความเร็ว  *  เวลาที่ใช้เดินทาง

คลื่นวิทยุ  :  ความเร็ว  =  186,000  ไมล์ต่อนาที

การวัดระยะเวลาในการเดินทาง คือ การเทียบกันของคลื่นสัญญาณที่ดาวเทียมส่งมากับคลื่นสัญญาณที่เครื่องรับ  GPS  ส่งมา  ส่วนคลื่นที่ใช้ในการส่งจะเป็น Pseudo Random Noise Code

3.การวัดระยะเวลาที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางของ  GPS  จะต้องใช้นาฬิกาที่แม่นยำอย่างมาก โดย PRN Code จากดาวเทียมมีข้อมูลเวลาที่คลื่นเริ่มออกเดินทางจากดาวเทียม เมื่อคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมและคลื่นสัญญาณจากเครื่องรับ GPS สมมาตรกัน (Synchronize) จึงจำเป็นต้องใช้ Atomic Clock ในการวัดเวลา  ส่วนเวลาที่ใช้ในการเดินทางจะสั้นมากประมาณ 0.06  วินาที ซึ่งก็คือเวลาของเครื่องรับ  GPS คูณด้วยเวลาของดาวเทียม  ส่วนการบอกตำแหน่ง  GPS จะต้องใช้เวลาที่มีความแน่นอนถึง  10  นาโนวินาทีหรือดีกว่านั้น

4.รู้ตำแหน่งของดาวเทียม GPS ที่แน่นอนในอวกาศ

-  วงโคจรสูงมากประมาณ 11,000  ไมล์

-  วงโคจรอาจคลาดเคลื่อน(Ephemeris  Errors)  เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

-  สถานีควบคุมภาคพื้นดินจะใช้เรดาร์ตรวจสอบการโคจรของดาวเทียม GPS ตลอดเวลา แล้วส่งข้อมูลไปปรับแก้ข้อมูลวงโคจรและเวลาของดาวเทียม  เมื่อข้อมูลได้รับการปรับแก้แล้วก็จะถูกส่งมายังเครื่องรับ GPS

5.มีการแก้ไขความคลาดเคลื่อน ที่เกิดจากการเดินทางของคลื่นวิทยุมาสู่โลก เพื่อป้องกันสาเหตุของความคลาดเคลื่อน(GPS  Errors)  จากค่าพิกัดที่คำนวณได้

- เกิดจากการเดินทางสู่ชั้นบรรยากาศ Ionosphere ที่จะมีประจุไฟฟ้าและชั้น Troposphere  ซึ่งมีทั้งความชื้น อุณหภูมิ ความหนาแน่นที่แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

- การสะท้อนของคลื่นสัญญาณไปในหลายทิศทาง(Multipath  Error)  ซึ่งที่ผิวโลกคลื่นสัญญาณต้องกระทบกับวัตถุ  ก่อนถึงเครื่องรับ  GPS  ซึ่งจะทำให้มีการหักเหและสัญญาณอ่อนลง

- ปัญหาที่เกิดจากดาวเทียมเอง(Check error,  Ephemeris  error)  อาจเกิดจากวงโคจรคลาดเคลื่อนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หรืออาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของนาฬิกา ซึ่งเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้การคำนวณระยะทางผิดพลาดได้มากเนื่องจากดาวเทียมอยู่สูงมาก

- ความสัมพันธ์ทางเรขาคณิตระหว่างตำแหน่งของดาวเทียมและตำแหน่งของเครื่องรับ GPS  ซึ่งจะคำนวณเป็นค่า  GDOP  =  Geometric Dilution of Precision อันเนื่องจากลักษณะการวางตัวในองค์ประกอบของดาวเทียม  และ  GDOP

- อาจจะเกิดจากความผิดพลาดอื่นๆ อาทิ  ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์  หรือบุคคลที่ควบคุมสถานี 1 เมตรถึง 100 เมตร  ซึ่งก็ผิดพลาดได้มาก หรือความผิดพลาดของเครื่องรับ GPS, Software, Hardware, User ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ไม่แน่ไม่นอน

ข้อดีของระบบ  GPS

- ทำให้รู้ทุกเส้นทางที่รถเดินทางไปมา รวมถึง วัน เวลา ความเร็ว ทิศทาง และระยะทางทั้งหมด

- ใช้ได้ทั้งการคมนาคมได้ทั้งทางบก  ทางน้ำ ทางอากาศ หรือในอวกาศ

- ประหยัดรายจ่ายและค่าน้ำมัน สามารถเพิ่มเที่ยวขนส่งงานโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนรถ

- ไม่มีค่าใช่จ่ายรายเดือน(ฟรี!)

- ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกในการใช้งาน  และสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุดถึง 13,000 ครั้งต่อวัน

- เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจได้ดี  ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากระบบติดตามยานพาหนะ

ข้อด้อยของระบบ  GPS

- เครื่องรับสัญญาณบางประเภทบางยี่ห้ออาจมีราคาแพง

- รางถ่านบางแบบอาจมีปัญหา  ถ้านำไปใช้ในขณะขับขี่จักรยานอาจจะดับได้ง่าย ซึ่งสามารถแก้ไขได้

- อาจเกิดปัญหาความผิดพลาดจากดาวเทียม(Check error,  Ephemeris error)  ที่เกิดจากวงโคจรคลาดเคลื่อน  อันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หรืออาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้การคำนวณระยะทางผิดพลาดได้มาก

- การต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นและความสะดวก บางเครื่องแสดงได้เฉพาะพิกัดภูมิศาสตร์ หรือบางเครื่องไม่สามารถต่อเข้ากับเครื่องมืออื่น หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก(Notebooks)ได้        

- ต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงทนทาน ถ้าต้องนำเครื่องไปใช้ทำงานในพื้นที่ที่เป็นทะเล หรือในพื้นที่ป่าเขา  สถานที่ที่มีเปลวไฟและความร้อนที่เกิดขึ้น เป็นตัวชี้สำคัญที่จะต้องเอาใจใส่

การนำไปประยุกต์ใช้งาน

ความสามารถของ GPS นั้น ทำให้เราสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายมากมาย  อาทิ

-การติดต่อสื่อสาร(Mobile  Telecommunications) เพื่อบอกตำแหน่งของคู่สนทนา  การหาตำแหน่งที่เราอยู่(ในกรณีที่ถูกลักพาตัว)

-การเดินเรือ  เพื่อบอกตำแหน่งของผู้บุกรุกน่านน้ำของประเทศใดๆ  เพื่อทำการสกัดจับได้ทันท่วงที  บอกตำแหน่งของสัตว์ที่เราต้องการในบริเวณนั้นๆได้สะดวกและตรงตามที่ต้องการ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

-การคมนาคมในอวกาศ(Space  navigation)  เพื่อการบอกตำแหน่งที่อยู่ของอุกกาบาต  ซึ่งอยู่ในระยะที่เป็นอันตรายต่อโลก  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น  บอกตำแหน่งของ  UFO  หรือวัตถุแปลกปลอมที่จะเข้ามาบุกรุก หรือเป็นอันตรายต่อมวลมนุษยชาติ

-การเชื่อมโยงกับระบบการสื่อสาร(Position  and  Telecommunication) เพื่อบอกตำแหน่งของสิ่งที่เราอยากรู้ทุกอย่างที่อยู่บนโลกนี้ ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา

-การหาตำแหน่งหรือติดตามยานพาหนะที่เคลื่อนที่(Automatic  Vehicle  Location) เพื่อบอกตำแหน่งของยี่ห้อ  รุ่น  และสีของรถที่วิ่งอยู่บนถนนได้ ช่วยในการตามหารถที่ถูกขโมยมา หรือจะตามรถที่มีการกระทำความผิดแล้วหลบหนีการจับกุม

-การสร้างแผนที่(Mapping) เพื่อบอกตำแหน่งของขุมทรัพย์  สร้างแผนที่เพื่อการจราจรทางอากาศ  การสร้างแผนที่เพื่อการจราจรทางน้ำ  สร้างแผนที่ของการวางไข่ของสัตว์น้ำ  สร้างแผนที่การอพยพของนก

-การวางแผนในการสำรวจเบื้องต้น(Survey) เพื่อบอกตำแหน่งของสิ่งที่เราต้องการสำรวจ อาทิ ทอง  น้ำมันกลางอ่าวไทย  ฯลฯ

-สิ่งแวดล้อม(Environment) เพื่อบอกตำแหน่งที่เกิดไฟไหม้ป่า  ตำแหน่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า  บอกตำแหน่งของสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์

-บอกตำแหน่งของสิ่งของมีค่าที่ทำหายไปได้  โดยที่เราสามารถระบุลักษณะของสิ่งของสิ่งนั้นได้  ว่าสิ่งของที่ต้องการให้หานั้นมีลักษณะอย่างไร  แล้วเครื่องก็สามารที่จะค้นหาให้เราได้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการ  แต่ต้องมีการระบุสถานที่ที่เราทำของหายนั้นได้อย่างถูกต้อง

-บอกตำแหน่งของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตที่เราไม่สามารถมองเห็นได้  แต่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก  เช่น  การบอกตำแหน่งของวิญญาณ ซึ่งเป็นพลังงานในรูปแบบรังสีหรือความร้อน  เครื่องก็จะทำหน้าที่บอกตำแหน่งหรือการเคลื่อนไหวของสิ่งที่เรามองไม่เห็น