เทคนิคพื้นฐานในการสร้างระดับความดัง SPL จากระบบเสียง
- วันที่: 03/05/2014 15:40
- จำนวนคนเข้าชม: 7669
เทคนิคในเบื้องต้นสำหรับการสร้างความดัง SPL ของระบบเสียง ก็จะใช้ประกอบกับหลักปรัชญาของการเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 dB ในระดับความดัง โดยระดับแรงดันไฟในระบบก็จะต้องใกล้เคียง 14 โวลท์ ทั้งที่แบตเตอรี่และไดชาร์จ รวมถึงขนาดเบอร์สายไฟต้องใช้อย่างน้อยเบอร์ 1/0 Awg และระดับแรงดันสัญญาณเสียง(Line Output) ที่มากกว่า 3 โวลท์ขึ้นไป
เทคนิคขั้นแรก
ต้องเริ่มต้นด้วยเพาเวอร์แอมป์ที่มีความสามารถตอบสนองที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้กำลังวัตต์สูงสุดจากเพาเวอร์แอมป์นั้นๆ (โดยการวัดจากไฟ AC ขาออกสูงสุดที่เพาเวอร์แอมป์ ด้วยมัลติมิเตอร์)
เทคนิคขั้นที่สอง
ต้องทำการคำนวณประสิทธิผลรวมของวูฟเฟอร์ โดยจะเริ่มด้วย +3 dB เมื่อเพิ่มซับอีกหนึ่งดอก, และพื้นที่รวมของหน้ากรวยลำโพงที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งก็จะให้กำลังเพิ่มขึ้นอีกเท่าหนึ่งเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น: เพาเวอร์แอมป์ Class D ต่อเข้ากับซับวูฟเฟอร์ 12 นิ้ว SS-12 วอยซ์คอยล์คู่จำนวน 2 ดอก(ต่อโหลดเป็น 1 โอห์ม) จะวัดไฟ AC ที่ปรากฏอยู่ตรงจุดเอาท์พุทได้เป็น 42 โวลท์ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นวัตต์สูงสุด จะได้ถึง 1764 วัตต์ (คำนวณได้จากไฟ AC ยกกำลังสอง หรือ 42 x 42 = 1764) เมื่อนำมาหารด้วยอิมพีแดนซ์(โหลด)ของลำโพงเพื่อหาวัตต์จริง หรือก็คือ 1 โอห์ม ก็ยังคงได้กำลังจริงๆเป็น 1764 วัตต์
ดังนั้นซับวูฟเฟอร์ ที่มีความไวตอบสนอง 87 dB ที่ 1W/1M ต่อวอยซ์คอยล์ ก็จะเข้าสูตรคำนวณ dB Log ได้ดังนี้
1 วอยซ์/ดอก(วูฟเฟอร์) = 87 dB
2 วอยซ์/ดอก(วูฟเฟอร์) = 90 dB
4 วอยซ์/ดอก(วูฟเฟอร์) = 93 dB
เทคนิคขั้นที่สาม
ส่วนเพิ่มก็มักถือว่าเป็นส่วนพิเศษในการทำระดับความดังสูงๆ นั่นก็คือรูปแบบ “เคบิ้นเกนของรถ” และ “รูปแบบของตู้บรรจุซับวูฟเฟอร์” การเลือกรถถูกแบบก็มีส่วนทำให้ได้ในเรื่องระดับความดัง, ตัวรถในแต่ละรูปลักษณ์ มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบเหมือนๆกัน สิ่งที่ต้องฉุกคิดก็คือ “การมองหาความจริงในสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความดัง SPL” ที่มีประเด็นให้สังเกตุดังนี้
สัมพันธ์ภาพในรถสีดาน(Transfer Function in sedan) = 12 dB
สัมพันธ์ภาพในรถท้ายลาด(Transfer Function in hatchback) = 16 dB
ตู้ซับฯแบบปิด = ไม่เพิ่ม dB พิเศษ
ตู้ซับฯแบบเปิด = ช่วยเพิ่มความดังอีกไม่น้อยกว่า 3 dB กรณีออกแบบธรรมดา
ตู้ซับฯแบบเปิดพิเศษ = ช่วยเพิ่มความดังได้อีก 6 ถึง 9 dB ถ้ามีการจัดเรียงลำดับตู้ได้ดีและมีขนาดค่อนข้างใหญ่
ตู้ซับฯแบบแบนพาส = ช่วยเพิ่มความดัง 6 ถึง 9 dB ขึ้นอยู่กับขนาด/ปริมาตรของตู้ และการบีบรวมแถบคลื่นในลักษณะ ONE NOTE BASS
ตำแหน่งการวางเซ็นเซอร์รับเสียง = เพิ่มความดังอีก 6 dB ถ้าวางเซ็นเซอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับทิศทางคลื่น
เทคนิคขั้นที่สี่ ตั้งสมมุติฐาน
การคิดในเรื่องของ dB log จะช่วยให้สามารถริเริ่มกับผลรวมของซับวูฟเฟอร์ได้ง่ายขึ้น โดยสมมุติว่าปัจจัยที่ความไวตอบสนองของซับวูฟเฟอร์มีข้อมูลเริ่มต้นที่ 93 dB/1W/1M
93 dB = 1 วัตต์
96 dB = 2 วัตต์
99 dB = 4 วัตต์
102 dB = 8 วัตต์
105 dB = 16 วัตต์
108 dB = 32 วัตต์
111 dB = 64 วัตต์
114 dB = 128 วัตต์
117 dB = 256 วัตต์
120 dB = 512 วัตต์
123 dB = 1024 วัตต์
126 dB = 2048 วัตต์
หากระบบเสียงเรามีกำลัง 1746 วัตต์ ดังนั้นเมื่อระบบเสียงถูกเล่นเต็มกำลัง มันก็จะนำพาความดังได้เกินกว่ากฎ dB log พื้นฐาน ที่ 125 dB ด้วยปัจจัยประกอบอื่นๆได้แก่
+ เพิ่ม 12 dB เมื่อตู้ซับฯถูกวางไว้ในรถที่มีสัมพันธ์ภาพ(เคบิ้นเกน) ความดังที่ปรากฏ = 137 dB
+ เพิ่ม 6 dB เพราะตู้ซับฯที่ใช้เป็นแบบเปิดพิเศษ ที่มีระดับความดังมากกว่า ปรากฏเป็น = 143 dB
+ เพิ่ม 6 dB เพราะเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดขณะจับความดังเสียง ถูกวางไว้ในตำแหน่งที่สัมพันธ์กับคลื่น ผลสรุปความดังอาจจะปรากฏเป็น = 149 dB (+/- 3 dB) อันเป็นความดังในระดับ Monster Sound