• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

ขจัดเสียงหวีดหวิวจากตัวปั่นไฟ

  • วันที่: 03/05/2014 16:50
  • จำนวนคนเข้าชม: 19748

เป็นเสียงหวีดหวิวที่เปลี่ยนรูปไปตามรอบเครื่องยนต์ และตามอัตราการกินกระแสของระบบไฟ ยิ่งมีการใช้กระแสมากเท่าใดก็ยิ่งมีโอกาสเกิดเสียงรบกวนลักษณะนี้ เช่น ในยามค่ำคืนที่ต้องทั้งเปิดไฟหน้า, เปิดเครื่องปรับอากาศ สาเหตุอาจมาจากการกราวน์ที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ประณีตเพียงพอ การเลือกขนาดสายไฟ/การเดินสายไฟไม่ถูกต้อง หรือขาดความชำนาญ การปรับสามาตรระดับสัญญาณไม่ถูกต้อง(Lever Matching) เสียงรบกวนจากตัวปั่นไฟนี้จะเหนี่ยวนำผ่านเข้ามาในระบบเสียงได้ 3 ทางด้วยกัน อันได้แก่

1.ผ่านเข้ามาโดยตรง
: แก้ไขได้ดังนี้

1.1  ทำการกรองเสียงรบกวนทิ้ง(ที่ตัวปั่นไฟ) โดยใช้คาปาซิเตอร์(เกรดที่ใช้ในคอมพิวเตอร์)ขนาด 6,000 ไมโครฟารัดขึ้นไป 50 โวลท์ หรือมากกว่านั้นต่อจากขั้วบวก + ของตัวปั่นไฟลงกราวน์

1.2   ทำการกรองเสียงรบกวนทิ้ง(ที่ตัวปั่นไฟ) โดยใช้ฟิลเตอร์ชนิด PI ที่ประกอบด้วยคาปาซิเตอร์ 2 ตัว และคอยล์ชนิดเทอร์รอยด์

1.3   ย้ายตำแหน่งการติดตั้ง และการเดินสายต่างๆ ให้ห่างจากตัวปั่นไฟหรือสายไฟหลักของระบบเท่าที่จะเป็นไปได้

ข้อแนะนำ: พยายามวางตัวคาปาซิเตอร์ให้อยู่ใกล้ตัวปั่นไฟมากที่สุด และจุดที่ต่อลงกราวน์(ตัวถังรถ)นั้นจะต้องสะอาดที่สุด หากมีสีหรือความสกปรกอยู่ ให้ทำการขัดออกจนเห็นเนื้อตัวถังรถที่เป็นโลหะ เพื่อให้มีค่าความต้านทานน้อยที่สุด หากมี VOM ก็ให้ทำการวัดค่าความต้านทานระหว่างตัวคาปาซิเตอร์กับจุดที่ต่อลงกราวน์นั้น โดยจะต้องมีค่าความต้านทานกว่า 0.3 โอห์ม

2.ผ่านเข้ามาทางสายไฟหลักของระบบเสียง
: แก้ไขได้ดังนี้

2.1   ทำการกรองเสียงรบกวนทิ้ง(ที่ตัวปั่นไฟ)โดยใช้หลักการในข้อที่ 1

2.2   ทำการกรองเสียงรบกวนที่สายไฟหลักทิ้ง โดยใช้คาปาซิเตอร์ขนาด 500 ไมโครฟารัด 50 โวลท์หรือมากกว่าต่อที่ไฟบวก + ไปลงกราวน์

2.3   ใช้คอยล์ขนาดค่า 1 mH หรือมากกว่า ต่ออนุกรมเข้ากับสายไฟหลักช่วงก่อนเข้าระบบ

2.4   ใช้คอยล์ขนาดค่า 1 mH และคาปาซิเตอร์ค่า 500 ไมโครฟารัด ร่วมกันในการขจัดเสียงรบกวน

3.ผ่านเข้ามาทางวงรอบกราวน์
(Ground Loop): แก้ไขได้ดังนี้

3.1   เดินสายไฟกราวน์ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

3.2   ให้เดินสายไฟลงกราวน์ด้วยขนาดความยาวเท่าๆกัน และลงกราวน์ในตำแหน่งเดียวกัน

3.3  เมื่อมีการใช้อุปกรณ์ปรับแต่งเสียงอื่นๆ(Signal Processor) ระหว่างเฮดยูนิทและเพาเวอร์แอมป์ ให้ลงกราวน์อุปกรณ์แต่งเสียงนี้ที่ตำแหน่งเดียวกับเฮดยูนิท

3.4   ให้เลือกใช้อุปกรณ์ปรับแต่งเสียง และเพาเวอร์แอมป์ที่มีกราวน์แยกอิสระจากกันระหว่างอินพุทและเอาท์พุท

3.5  ใช้สายที่มีคุณภาพเป็นสายนำสัญญาณเสียง อาทิ สายนำสัญญาณแบบถักเกลียว รวมถึงขั้วต่อสายไฟต่างๆด้วย และต้องให้มั่นใจว่าขนาดของสายไฟที่ต่อไปยังเพาเวอร์แอมป์ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการทางกระแสของเพาเวอร์แอมป์ ทั้งสายไฟหลักและสายไฟกราวน์

3.6 เลือกใช้ชิ้นอุปกรณ์ภายในระบบเพียงน้อยชิ้น โดยเลือกที่มีฟังค์ชั่น ใช้ งานตามต้องการ และมีคุณภาพดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้