• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

ดูขนาดฟิวส์ในเพาเวอร์แอมป์ เพื่อนิยามถึงกำลังวัตต์ที่ทำได้จริง

  • วันที่: 03/05/2014 15:32
  • จำนวนคนเข้าชม: 16687

ด้วยปัจจุบันการบ่งบอกค่ากำลังวัตต์ในตัวเพาเวอร์แอมป์ มักมีการบอกค่าตัวเลขแบบพีคสุดกู่ หรือไม่ก็เป็นค่าตัวเลขหลวมๆ ทำให้เราไม่อาจเห็นถึงตัวเลขกำลังวัตต์เฉลี่ยได้อย่างแม่นยำ ในหัวข้อนี้จึงหยิบยกการสังเกตตัวเลขหรือขนาดของ “ฟิวส์” ที่ใช้ในเพาเวอร์แอมป์ มาเป็นตัวเลขหลัก เพื่อการนิยามถึงกำลังวัตต์ที่เพาเวอร์แอมป์นั้นทำได้ในอัตรา “กำลังวัตต์เฉลี่ย” ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางระบบเสียงที่ได้เป้าหมายทางเดซิเบลได้ตรงตามต้องการ และให้ประโยชน์อย่างถูกต้อง เมื่อทำการปรับ “เลเวล-แมทชิ่ง” ด้วยดิจิตอล-มัลติมิเตอร์ เพื่อทำให้เพาเวอร์แอมป์ไม่ปรากฏความผิดเพี้ยนของเสียงในการทำงาน

เริ่มที่ค่าฟิวส์ 10A (แอมป์) หรือ 5A x 2 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 7 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 50 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 25 วัตต์ x 2 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 15A (แอมป์) หรือ 7.5A x 2 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 10 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 75 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 37.5 วัตต์ x 2 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 20A (แอมป์) หรือ 10A x 2 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 15 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 100 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 50 วัตต์ x 2 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 25A (แอมป์) หรือ 12.5A x 2 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 20 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 150 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 75 วัตต์ x 2 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 40A (แอมป์) หรือ 20A x 2 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 30 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 200 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 4 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 50 วัตต์ x 2 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 60A (แอมป์) หรือ 20A x 3 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 45 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 300 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 150 วัตต์ x 2 แชนแนล และกรณีที่เป็นแอมป์ 4 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 75 วัตต์ x 4 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 80A (แอมป์) หรือ 20A x 4 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 60 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 400 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 200 วัตต์ x 2 แชนแนล และกรณีที่เป็นแอมป์ 4 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 100 วัตต์ x 4 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 100A (แอมป์) หรือ 20A x 5 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 75 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 500 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 250 วัตต์ x 2 แชนแนล และกรณีที่เป็นแอมป์ 4 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 125 วัตต์ x 4 แชนแนล

ที่ค่าฟิวส์ 120A (แอมป์) หรือ 20A x 6 ตัว แสดงถึงว่าภายในวงจรเพาเวอร์แอมป์กินกระแสเฉลี่ยที่ประมาณ 80 แอมแปร์ จึงได้ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยโดยรวมที่ 600 วัตต์ กรณีที่เป็นแอมป์ 2 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 300 วัตต์ x 2 แชนแนล และกรณีที่เป็นแอมป์ 1 แชนแนล ก็หมายถึงมีกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 600 วัตต์ x 1 แชนแนล

ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยนี้ คิดที่อิมพีแดนซ์ปกติ 4 โอห์ม กรณีที่วงจรขยายภายในสามารถรับโหลดภาระได้ที่ 2 โอห์ม กำลังวัตต์ที่ได้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว

สำหรับเพาเวอร์แอมป์ดิจิตอล หรือโมโนบล็อก จะใช้วิธีสังเกตการณ์ค่ากินกระแสสูงสุดของเพาเวอร์แอมป์ ในการวินิจฉัยกำลังวัตต์เฉลี่ยที่ 1 แชนแนล เนื่องจากแอมป์ดิจิตอล สามารถให้ประสิทธิภาพทำงานได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถทำกำลังวัตต์ได้สูงกว่าแอมป์คลาสปกติ ดังต่อไปนี้

ค่าอัตรากินกระแสสูงสุดที่ 105A หรือแอมแปร์ อาจมีกำลังวัตต์เฉลี่ยได้ถึงประมาณ 800 วัตต์

ค่าอัตรากินกระแสสูงสุดที่ 120A หรือแอมแปร์ อาจมีกำลังวัตต์เฉลี่ยได้ถึงประมาณ 1100 วัตต์

ค่าอัตรากินกระแสสูงสุดที่ 135A หรือแอมแปร์ อาจมีกำลังวัตต์เฉลี่ยได้ถึงประมาณ 1250 วัตต์

ค่าอัตรากินกระแสสูงสุดที่ 150A หรือแอมแปร์ อาจมีกำลังวัตต์เฉลี่ยได้ถึงประมาณ 1400 วัตต์

ค่ากำลังวัตต์เฉลี่ยนี้ คิดที่อิมพีแดนซ์ปกติ 4 โอห์ม กรณีที่วงจรขยายภายในสามารถรับโหลดภาระได้ที่ 2 โอห์ม กำลังวัตต์ที่ได้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว และถ้ารับโหลดภาระที่ 1 โอห์ม ก็จะได้กำลังวัตต์เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าตัว

ขอให้สนุกกับการค้นหากำลังวัตต์เฉลี่ยที่เป็นไปได้จริงในเพาเวอร์แอมป์ยุคปัจจุบัน..กันนะครับ สวัสดี