ออกแบบตู้ซับฯด้วย Apps บน Android Tablet
- วันที่: 08/02/2014 14:13
- จำนวนคนเข้าชม: 15330
ก่อนอื่นเราก็คลิ๊กเข้าไปในส่วนของ Enclosure Builder จะพบเมนูย่อยให้ใช้งานได้ด้วยกัน 4 ลักษณะ นั่นคือ Box, Wedge, Tube และ Response
โดยที่ Box หมายถึงตู้ในแบบเหลี่ยมจัตุรัส โดยออกแบบคำนึงถึง Golden Ratio, Wedge หมายถึงตู้ในแบบเหลี่ยมคางหมู, Tube หมายถึงตู้ในแบบทรงกระบอก ส่วน Response นั่นเป็นการตรวจสอบผลทางด้านความถี่ ที่สัมพันธ์ระหว่างค่า T/S parameter และปริมาตรอากาศในตู้
เริ่มที่ตู้ปิด แบบทรงเหลี่ยมจุตรัส
เมื่อเข้าสู่หน้าการออกแบบตู้แล้ว ให้เริ่มใส่ตัวเลข ความหนาของไม้ที่ใช้ทำตู้ ในตัวอย่างใช้ไม้หนา 16 มิลลิเมตร (คลิกเปลี่ยนหน่วยให้ถูกต้องก่อนใส่นะครับ) โดยใส่ในช่อง Wall Thickness จากนั้นใส่ปริมาตรอากาศภายในที่ต้องการ ในตัวอย่างใช้ที่ 0.9 ลบ.ฟุต (อย่าลืมบวกปริมาตรของดอก+แม่เหล็กซับฯเข้าไปด้วยนะครับ) จากนั้นเลือกชนิดของตู้ ในที่นี้เลือก Sealed หรือตู้แบบปิดทึบ เมื่อเรียบร้อยให้คลิ๊กที่ Calculate ก็จะได้ความกว้างของส่วนต่างๆ (Length, Width, Hight) ซึ่งถ้าหากเราต้องการจะเปลี่ยนค่าก็ทำได้ และก่อนเปลี่ยนให้คลิ๊กเลือก Step ก่อน หรือหากต้องการยึดเอาด้านใดด้านหนึ่งเป็นหลัก ก็ให้คลิ๊ก Lock เอาไว้ก่อน
เมื่อต้องการดู Diagram ของรูปตู้ ก็ให้คลิ๊กที่ Diagram โปรฯก็จะแสดงภาพร่างของตู้ ที่มีสัดส่วนในด้านต่างๆออกมาให้ดู
ต่อด้วยตู้เปิด แบบทรงเหลี่ยมคางหมู
จากนั้นเราจะนำพาไปชมการออกแบบตู้ซับฯแบบเปิด ทรงเหลี่ยมคางหมู ซึ่งต้องคลิ๊กเข้าไปใน Wedge จากนั้นก็เริ่มกรอกค่าที่จำเป็น ได้แก่ Wall Thickness เราใช้เป็นไม้หนา 16 มิลลิเมตร, ปริมาตรอากาศในตู้ที่ต้องการ 0.9 ลบ.ฟุต เลือกแบบตู้เป็นตู้เปิด คลิ๊กที่ Ported
ต่อมาก็ให้กรอกตัวเลขที่จำเป็นสำหรับตู้เปิด ได้แก่ PortFreq ในที่นี้เราเลือกจูนท่อที่ความถี่ 50 Hz ใส่พื้นที่พอร์ท PortArea เราใช้ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว ก็จะได้พื้นที่เป็น 3.14 x 2 x 2 เท่ากับ 12.56 sq .inches ใส่จำนวนพอร์ทที่ใช้ Num.of Ports เป็น 1
เมื่อคลิ๊กที่ Calculate ก็จะได้ขนาดด้านต่างๆของตู้ พร้อมความยาวของพอร์ท Port Length ที่ระบุไว้สำหรับความถี่ 50 Hz คือ 11 นิ้ว เช่นกันหากต้องการชมภาพร่างของตู้ ก็ให้คลิ๊กที่ Diagram จะปรากฏภาพร่างของตู้ พร้อมมิติด้านต่างๆให้ทราบ
ไปทดสอบประสิทธิภาพตู้+ซับฯที่ใช้กัน
คราวนี้เราจะลองเอาดอกซับฯไปติดตั้งในตู้ที่เราออกแบบ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพที่คาดว่าจะได้รับ โดยจะเริ่มที่ตู้แบบปิด ด้วยดอกซับฯที่มีค่า T/S parameter ดังต่อไปนี้
Specifications 1070D
Revc 3.6 ohms
Fo 41.54 Hz
Zmx 33.50 ohms
Sd 0.034 M2
BL 11.0 TM
No 0.65%
SPL 91.5 dB
Qms 3.0
Qes 0.65
Qts 0.55
Vas 38.0 litres
Cms 184.0 uM/N
Mms 108.80 Grams
Mmd 98.50 Grams
Levc 1.98 mH
Rem 4.70
Krm 42.2
Kxm 42.8
Erm 0.72
Exm 0.65
Xmax 12 mm
Pmax 700 W
EBP 58.50
Sealed Box 0.62 ft2
คลิ๊กเข้าไปใน Response เลือก Type เป็น Sealed ใส่ค่าปริมาตรอากาศของตู้ ในที่นี้ใช้ 0.9 ลบ.ฟุต จากตู้ที่เราออกแบบในตอนต้นบทความ ป้อนค่าของดอกซับฯ (T/S parameter) ลงไปในช่องต่างๆ เริ่มจาก Diver Q, total คือ 0.55, Driver Q, elec. คือ 0.65, Volume คือ 38 litres, Driver resonance คือ 41.54 hertz, Power คือ 700 watts, Surface Area (Sd) คือ 52.7 sq.inches (แปลงหน่วยให้ถูกต้องก่อนใส่ด้วย), Excursion คือ 12 มิลลิเมตร และจำนวน Subwoofers ที่ติดตั้งในตู้ 1 ดอก
หลังจากป้อนค่าต่างๆและทบทวนจนหน่วยถูกต้องแล้ว ให้คลิ๊กที่ Calculate ก็จะได้กราฟแสดงผลการทำงานของดอกซับฯ+ตู้ที่เราออกแบบ
จากตัวอย่าง จะได้สัมประสิทธิ์ของดอกซับฯ+ตู้ มีค่าเป็น Sealed: 0.9 cu.feet, Qtc: 0.868, Fc: 65.6 Hz, F3: 54.6 Hz, Peak SPL: +0.5 dB at 112.3 Hz (เนื่องจากตู้นี่มี Qtc ที่ 0.868 ทำให้มียอดโด่งของคลื่นก่อนถึงจุดลาดลง 3 dB)
ต่อมาเราจะลองเอาซับฯดอกเดียวกันนี้ไปตรวจประสิทธิภาพในตู้เปิด โดยเข้าที่ Response นี้เหมือนกัน แต่คลิ๊กที่ Type เป็น Ported กรอกค่า PortFrequency เพิ่มเติม (จากตู้แบบเปิดที่เราออกแบบ จูนพอร์ทไว้ที่ 50 Hz) เป็น 50 Hz กรอกค่า T/S parameter ดอกซับฯ จากนั้นคลิ๊กที่ Calculate
สัมประสิทธิ์ของดอกซับ+ตู้เปิด ได้เป็น Ported: 0.9 cu.feet at 50.0 Hz, F3: 46.4 Hz, Peak. SPL: +3.9 dB at 79.2 Hz
หากท่านมีความสังเกต ก็จะเห็นว่าซับฯดอกนี้มีค่า EBP อยู่ที่ 58.50 ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ได้ดีทั้งตู้ปิดและตู้เปิด เมื่อนำมาติดตั้งในปริมาตรอากาศที่เท่ากัน ก็สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้อง โดยในตู้เปิดจะได้ค่า F3 ที่ลึกกว่าเล็กน้อย และได้ค่า Peak ที่ดี (คืออยู่ในหลักความถี่ 79.2 Hz จะได้เบสที่มีสปริง กระชับ และสะอาด)
สำหรับกราฟแสดงประสิทธิภาพนี้ สามารถ Save เก็บไว้เป็นไฟล์ .jpg ได้ โดยตั้งชื่อได้ตามสะดวก เน้นเป็นภาษาอังกฤษ เป็นรุ่นซับฯกับปริมาตรตู้ ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้อีก