ใช้ Internet ในการออกแบบตู้ซับฯ
- วันที่: 14/10/2010 15:32
- จำนวนคนเข้าชม: 55573
ปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการของระบบ Internet ไร้สาย ที่มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลได้ในระดับสูง และเสียค่าใช้จ่ายไม่มากมายนัก ทำให้อุปกรณ์พกพาหลายๆตัวสามารถเชื่อมต่อได้สะดวก โดยไม่จำกัดแค่ว่าต้องเป็นเครื่อง PC หรือ Notebook เท่านั้น อุปกรณ์ใดที่มีโปรแกรมเข้าอินเตอร์เน็ทและมีโปรแกรมซัพพอร์ทก็สามารถเข้าไปใช้งานได้ ซึ่งความเกี่ยวข้องของเราในคอลัมน์นี้ ก็คือการใช้ตัวช่วยในการออกแบบตู้ซับวูฟเฟอร์รถยนต์ ที่มีให้ใช้งานกันในเว็บ สามารถเข้าใช้งานได้หลากหลายวิธี(นักเล่นเว็บจะทราบดี) เอาละมาดูกันดีกว่าว่ามีตัวช่วยอะไรบ้างนะ
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=27
คำนวณปริมาตรตู้ซับฯ แบนด์พาสลำดับที่ 4
เว็บแรกเป็นตัวช่วยในการออกแบบตู้ซับฯแบบแบนด์พาสลำดับที่ 4 (ภาพที่ 1) หรือตู้แบนด์พาสแบบห้องหลังเป็นตู้ปิดห้องหน้าเป็นตู้เปิดนั่นละครับ ในการคำนวณเราจะใส่ค่าต่างๆลงไปดังนี้
Number of Drivers หมายถึงจะใช้ซับฯกี่ดอกในตู้หนึ่งใบ โดยทั่วไปจะใช้ซับฯ 1 ดอกในตู้ 1 ใบครับ
Isobaric Loading ในกรณีที่ใช้ซับฯสองดอกในตู้ใบเดียวกันนั้น ต้องการจะติดตั้งเป็นแบบ Isobaric หรือไม่ ตอบเป็น Yes หรือ No ครับ (สำหรับการใช้ซับฯดอกเดียวกับตู้ใบเดียว ให้กดที่ No ครับ)
Enter Qts ให้ใส่ค่า Qts ของดอกซับฯที่เรามีลงไปครับ
Enter Vas ให้ใส่ค่า Vas ของดอกซับฯ หน่วยเป็น ลบ.ฟุต
Enter Fs ให้ใส่ค่า Fs ของดอกซับฯลงไป หน่วยเป็น Hz
Choose an S Factor เป็นการเลือกความสม่ำเสมอของยอดกราฟ แนะนำ 0.7 หากต้องการฟังไพเราะ และ 0.5 หากต้องการระดับ SPL สูงสุด
Enter Desired F3(L) ให้ใส่ค่าความถี่ F3 ทางด้านความถี่ต่ำที่ต้องการลงไป ปกติแนะนำที่ 40 Hz ครับ
หลังจากป้อนค่าหลักๆได้ครบแล้ว ก็สามารถคลิ๊กที่ปุ่ม Calculate Enclosure ได้เลยครับ จะได้ค่าต่างๆดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2
ซึ่งค่าที่ได้ก็จะมีความหมายดังนี้
Vf เป็นปริมาตรของตู้ใบหน้าแบบเปิด
Vr เป็นปริมาตรของตู้ใบหลังแบบปิด
Qbp เป็นค่ารีโซแนนท์รวมของระบบ มีความหมายคล้ายๆค่า Qtc ในการออกแบบตู้ซับฯแบบปิด
Fb เป็นค่าความถี่ที่ตั้งไว้สำหรับท่อระบายเบส
Passband คือขอบเขตของความถี่ที่ตู้ซับฯสามารถตอบสนองได้
Gain เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของเสียงเบสที่ได้จากตู้ซับฯ
เมื่อได้ค่าดังนี้เราก็สามารถนำไปคำนวณสัดส่วนของตู้แต่ละใบ คำนวณหาขนาดของท่อระบายเบส ได้แล้วครับ
---------------------------------------------------------------------
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=45#box
คำนวณขนาดด้านต่างๆ และปริมาตรของวัตถุ
ภาพที่ 3
ในเว็บนี้เป็นตัวช่วยในการคำนวณมิติต่างๆของตู้ซับฯ (Box Dimensions Calculator) (ภาพที่ 3) โดยใส่ค่าลงไปสองด้านแล้วหาด้านลึก มีคำจำกัดความดังนี้
External measurements โดยปกติจะใส่ด้านกว้างและด้านสูงของตู้ตามเนื้อที่ที่จะใช้เป็นตำแหน่งติตดั้งตู้ซับฯเพื่อหาความลึก สมมุติกว้าง 18 นิ้ว สูง 13 นิ้ว
Desired internal volume ปริมาตรอากาศภายในที่ต้องการภายในตู้ สมมุติ 1.5 ลบ.ฟุต
Thickness of box material ความหนาของไม้ที่นำมาใช้จัดทำตู้ซับฯ สมมุติใช้ไม้ 16 มม. เท่ากับ 0.63 นิ้ว
เมื่อกรอกข้อมูลลงไปในช่องที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว ก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม CALCULATE เราก็จะได้ขนาดหรือมิติต่างๆของตู้ซับฯที่วัดภายนอก External Box Dimensions (ภาพที่ 4)
ภาพที่ 4
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้งานเพื่อการคำนวณปริมาตรวัตถุทรงเหลี่ยมตันได้ด้วย กับฟังค์ชั่น Solid Object Volume Calculator โดยการป้อนค่าความกว้าง, ความสูง และความลึก(หน่วยเป็นนิ้ว)ลงไป จากนั้นกดที่ปุ่ม CALCULATE ก็จะได้ปริมาตรตามต้องการ (ภาพที่ 5)
ภาพที่ 5
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=32
คำนวณปริมาตรตู้ซับฯ แบนด์พาสลำดับที่ 6
ภาพที่ 6
สำหรับเว็บนี้ ใช้ในการคำนวณหรือออกแบบตู้แบนด์พาส ลำดับที่ 6 (ภาพที่ 6) หรือเป็นตู้แบนด์พาสที่ใช้ตู้เปิดทั้งสองใบนั่นละครับ ซึ่งในการคำนวนตู้แบนด์พาสแบบนี้ ต้องใช้ซับฯที่มีค่า Qts อยู่ระหว่าง 0.18 ถึง 0.28 เพื่อความสมบูรณ์ของตู้ซับฯ
เราจะใช้ซับฯที่มีค่า Qts 0.27 ค่า Vas 0.651 cu.ft และค่า Fs 42.3 Hz กรอกตัวเลขลงไป จากนั้นกดที่ปุ่ม Calculate Enclosure ก็จะได้ผลลัพท์ตามภาพที่ 7 อ้อ...สำหรับตู้ใบที่ติดตั้งแม่เหล็กของดอกลงไป ต้องบวกเพิ่มปริมาตรของดอกซับฯด้วยนะครับ
ภาพที่ 7
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=31
หาขนาดท่อระบายเบสที่น้อยที่สุด และหาความยาวท่อระบายเบส
ภาพที่ 8
สำหรับเว็บนี้ จะมีสองฟังค์ชั่นให้เราใช้งาน นั่นคือ หาความเป็นไปได้ของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อต่ำสุดที่จะนำมาใช้ได้ (Minimum Usable Vent Diameter) และคำนวณหาความยาวของท่อตามความถี่ที่ตั้งไว้ (Calculate Your Vent Length) (ภาพที่ 8)
ในการหาความเป็นไปได้ของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อต่ำสุด ให้เริ่มที่การคลิ๊กเลือกขนาดของดอกซับฯ Driver Size จากนั้นหากเป็นตู้แบนด์พาสให้กด Yes ที่ค่า Is this a bandpass enclosure ถ้าไม่ใช่ตู้แบนด์พาสให้กด No ป้อนจำนวนของดอกในช่อง Enter Quantity of Drivers ดอกเดียวต่อตู้ให้ใส่ 1 จากนั้นใส่ค่า Xmax ของดอกซับในช่อง Enter Xmax ใส่ค่าความถี่ของท่อที่เราต้องการในช่อง Enter Tuning Frequency ในที่นี่สมมุติ 50 Hz จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Calculate Minimum ก็จะได้ค่าตามต้องการดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9
นั่นคือไม่ควรใช้ท่อที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 3.92 นิ้ว หรือมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 12.05 นิ้ว และความยาวของด้านต่างๆสำหรับการใช้ท่อรูปทรงเหลี่ยมไม่ต่ำกว่า 3.47 นิ้ว
สำหรับการหาความยาวของท่อระบายเบส ให้เราเลือกรูปทรงท่อระบายว่าต้องการเป็นทรงกลม Round หรือทรงเหลี่ยม Square และเลือกว่าเป็นท่อแบบ slot port หรือไม่ (slot port คือช่องระบายที่ใช้ผนังด้านหนึ่งของตู้เป็นผนังของช่องระบาย) ใส่จำนวนของช่องระบายที่ต้องการ Quantity of ports ปกติใช้ช่องเดียวให้ใส่ค่าเป็น 1 ใส่ค่าปริมาตรภายในของตู้ซับฯที่เราใช้ Enter Enclosure Volume สมมุติเป็นตู้ขนาด 1.3 ลบ.ฟุต และให้ใส่ค่าความถี่ของท่อที่เราต้องการกำหนด สมมุติเป็น 50 Hz
ในกรณีของท่อระบายทรงกลม ให้ใส่ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางท่อลงในช่อง Enter Desired Port Diameter สมมุติ 4 นิ้ว เมื่อคลิ๊กที่ปุ่ม Calculate Length ก็จะได้ความยาวของท่อระบายตามต้องการ 7.49 นิ้ว (ภาพที่ 10)
ภาพที่ 10
สำหรับสูตรที่ใช้ในการคำนวณหาขนาดของท่อระบายเบส ก็จะใช้สูตรในภาพที่ 11
โดยกำหนดให้ dv เป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อระบายเบสมีหน่วยเป็นนิ้ว
Fb เป็นความถี่กำหนดของท่อระบายเบสที่เราต้องการ
Vd เป็นปริมาตรของหน้ากรวยดอกซับฯ มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร ที่สามารถเทียบได้จากตารางในภาพที่ 12 นี้ได้ครับ
ภาพที่ 12
ส่วนเรื่องของสูตรที่ใช้ในการคำนวณหาความยาวของท่อระบายเบส ที่เป็นแบบท่อกลม ใช้สูตรในภาพที่ 13 นี้
โดยกำหนดให้ Fb เป็นความถี่ที่กำหนดสำหรับท่อระบายเบส หน่วยเป็น Hz
Lv คือความยาวของท่อระบายที่ใช้
R เป็นรัศมีภายในของท่อระบายเบสที่ใช้
Vb เป็นปริมาตรภายในของตู้ซับฯหน่วยเป็นลูกบาศก์นิ้ว
และสำหรับการคำนวณหาความยาวท่อระบาย ที่เป็นทรงเหลี่ยม จะใช้สูตรในภาพที่ 14 นี้
โดยให้ a เป็นพื้นที่ของทรงเหลี่ยมที่ใช้เป็นท่อระบาย (กว้าง x สูง)
และ (Pi) มีค่าประมาณ 3.141592
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=30
คำนวณหาค่า Qtc ของตู้ซับฯ
ในเว็บนี้เป็นการคำนวณค่า Qtc ของงานออกแบบตู้ซับฯแบบปิด (ภาพที่ 15) โดยกรอกค่า Qts ของดอกซับฯในช่อง Enter Qts ใส่ค่า Vas ของดอกซับในช่อง Enter Vas ใส่ค่า Fs ของดอกซับฯในช่อง Enter Fs และใส่ค่าปริมาตรตู้ลงในช่อง Enter Vb จากนั้นกดที่ปุ่ม Calculate Qtc เราก็จะได้ค่า Qtc ตามต้องการ (ภาพที่ 16)
ภาพที่ 16
ค่า Qtc เป็นอัตราความชันของการค่อยๆลาดลงที่ความถี่ F3 ความชันสูงจะทำให้ความถี่ด้านต่ำสูญเสีย ในขณะที่ความชันน้อยการตอบสนองทางด้านความถี่ต่ำลึกๆจะไปได้มากกว่า
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=28
คำนวณปริมาตรตู้ซับฯ แบนด์พาสลำดับที่ 4 กำหนดตามเกณฑ์ขยาย
ภาพที่ 17
เว็บนี้ใช้คำนวณปริมาตรตู้ซับฯแบนด์พาสลำดับที่ 4 (ภาพที่ 17) โดยการกำหนดเกณฑ์ขยายได้เองหรือตู้แบนด์พาสแบบห้องหลังเป็นตู้ปิดห้องหน้าเป็นตู้เปิดนั่นละครับ ในการคำนวณเราจะใส่ค่าต่างๆลงไปดังนี้
Number of Drivers หมายถึงจะใช้ซับฯกี่ดอกในตู้หนึ่งใบ โดยทั่วไปจะใช้ซับฯ 1 ดอกในตู้ 1 ใบครับ
Isobaric Loading ในกรณีที่ใช้ซับฯสองดอกในตู้ใบเดียวกันนั้น ต้องการจะติดตั้งเป็นแบบ Isobaric หรือไม่ ตอบเป็น Yes หรือ No ครับ (สำหรับการใช้ซับฯดอกเดียวกับตู้ใบเดียว ให้กดที่ No ครับ)
Enter Qts ให้ใส่ค่า Qts ของดอกซับฯที่เรามีลงไปครับ
Enter Vas ให้ใส่ค่า Vas ของดอกซับฯ หน่วยเป็น ลบ.ฟุต
Enter Fs ให้ใส่ค่า Fs ของดอกซับฯลงไป หน่วยเป็น Hz
Choose an S Factor เป็นการเลือกความสม่ำเสมอของยอดกราฟ แนะนำ 0.7 หากต้องการฟังไพเราะ และ 0.5 หากต้องการระดับ SPL สูงสุด
Enter Desired Gain ให้ใส่ค่าเกณฑ์การขยายที่ต้องการ
หลังจากป้อนค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ให้กดที่ปุ่ม Calculate Enclosure ก็จะได้ปริมาตรตู้ใบหน้า/ตู้ใบหลังตามต้องการ พร้อมความถี่กำหนดสำหรับท่อระบายเบส (ภาพที่ 18)
ภาพที่ 18
ซึ่งค่าที่ได้ก็จะมีความหมายดังนี้
Vf เป็นปริมาตรของตู้ใบหน้าแบบเปิด
Vr เป็นปริมาตรของตู้ใบหลังแบบปิด
Qbp เป็นค่ารีโซแนนท์รวมของระบบ มีความหมายคล้ายๆค่า Qtc ในการออกแบบตู้ซับฯแบบปิด
Fb เป็นค่าความถี่ที่ตั้งไว้สำหรับท่อระบายเบส
Passband คือขอบเขตของความถี่ที่ตู้ซับฯสามารถตอบสนองได้
เมื่อได้ค่าดังนี้เราก็สามารถนำไปคำนวณสัดส่วนของตู้แต่ละใบ คำนวณหาขนาดของท่อระบายเบส ได้ต่อไปครับ
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=17
คำนวณหาปริมาตรของตู้ซับฯแบบเปิด
ภาพที่ 19
การคำนวณในเว็บนี้ เป็นการคำนวณตู้ซับฯแบบเปิด มีท่อระบายเบส ทำได้โดยการป้อนค่าที่จำเป็นต่างๆลงไป
Number of Drivers คือจำนวนดอกซับฯต่อหนึ่งตู้ซับฯ ปกติใช้ 1 ดอกกับตู้ 1 ใบ
Isobaric คือกรณีที่ใช้ซับฯ 2 ดอกกับตู้ 1 ใบ จะใช้การต่อแบบไอโซบาริคหรือไม่
Enter Qts ใส่ค่า Qts ของดอกซับฯ
Enter Vas ใส่ค่า Vas ของดอกซับฯตามหน่วยระบุ
Enter Fs ใส่ค่า Fs ของดอกซับฯ
หลังจากป้อนค่าต่างๆเรียบร้อย ให้กดที่ปุ่ม Calculate Enclosure ก็จะได้ค่าต่างๆตามต้องการ (ภาพที่ 20)
ภาพที่ 20
ค่า Vb คือปริมาตรสุทธิภายในของตู้ที่ดอกซับฯต้องการ
ค่า F3 คือจุดที่ความถี่เริ่มมีการตอบสนองลาดลง -3 dB
ค่า Fb คือความถี่กำหนดของท่อระบายเบส ที่จะต้องออกแบบท่อให้มีปริมาตรตามความถี่นั้นๆ
สำหรับสูตรที่ใช้ในการคำนวณได้มาจากภาพที่ 21
การหาสัดส่วนตู้ซับฯแบบ Golden Ratio และขนาดที่แท้จริงของตู้ซับฯ
ภาพที่ 22
เว็บนี้ใช้เพื่อการคำนวณหาสัดส่วนที่เหมาะสมของตู้ (ภาพที่ 22) เพื่อไม่ให้เกิดการก้องสะท้อนภายใน หรือมีภาษาเรียกกันว่า “Golden Ratio” หรือ “โกลเด้น เรโช”
การคำนวณนั้นง่ายครับ คือให้เรากรอกตัวเลขปริมาตรสุทธิของตู้(ปริมาตรภายใน)ลงไปในช่อง Box volume จากนั้นให้กดที่ปุ่ม Dimensions ก็จะได้ค่าต่างๆตามต้องการ รวมถึงปริมาตรสุทธิใหม่ที่ใกล้เคียงกับปริมาตรจริงที่ต้องการ หรือ Total (ภาพที่ 23)
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=4
การคำนวณความเร็วเสียงที่วิ่งผ่านท่อระบาย ป้องกันเสียงลมผิว
ในเว็บนี้เป็นการคำนวณหาความเร็วเสียงที่วิ่งผ่านท่อระบาย (ภาพที่ 25) เพื่อหาค่าเปอร์เซ็นต์ความเหมาะสม จากพื้นที่ความกว้าง, ความลึกของท่อ โดยกรอกค่าต่างๆดังนี้
Enter W เป็นค่ากำลังเสียงที่ป้อนขับดอกซับฯ มีหน่วยเป็นวัตต์
Enter Fb หรือค่าความถี่กำหนดของท่อระบายเบส
Enter R หรือรัศมีของปากท่อระบายเบส
หลังจากป้อนค่าต่างๆเรียบร้อย ให้กดที่ปุ่ม Calculate Values ก็จะได้ค่า percentage of Mach ออกมา โดยทั่วไปจะต้องรักษาค่านี้ไว้ที่ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ หรือให้น้อยกว่าความเร็วของเสียง (ในภาพที่ 26)
ภาพที่ 26
สำหรับสูตรที่ใช้ในการคำนวณได้มาจากสูตรในภาพที่ 27
http://www.carstereo.com/help/Articles.cfm?id=26
คำนวณปริมาตรอากาศสำหรับตู้ซับแบบปิดทึบ
อันนี้เป็นเว็บเพื่อคำนวณปริมาตรอากาศสำหรับตู้ซับฯแบบปิดทึบ (ภาพที่ 28) โดยกรอกข้อมูลต่างๆของดอกซับฯลงไปดังนี้
Number of Drivers คือจำนวนดอกซับฯที่ใช้ในหนึ่งตู้ ปกติใช้ 1 (หรือหมายถึงใช้ซับฯ 1 ดอก กับตู้ 1 ใบ)
Enter Qts ให้ใส่ค่า Qts ของดอกซับฯลงไปในช่องนี้
Enter Vas ให้ใส่ค่า Vas ของดอกซับฯลงไปในช่องนี้ หน่วยเป็น ลบ.ฟุต
Enter Fs ให้ใส่ค่า Fs ของดอกซับในช่องนี้
Enter Qtc ให้เลือกใส่ค่า Qtc ของตู้ซับฯที่เราต้องการ สำหรับตู้ซับฯที่ต้องการระดับความดังสูงๆในช่วงคลื่น 70 – 120 Hz แนะนำค่าระหว่าง 0.9 ถึง 1.2 และกรณีที่ต้องการความราบเรียบทางการตอบสนองคลื่นเบส แนะนำค่า 0.707
หลังจากนั้นให้กดที่ปุ่ม Calculate Enclosure ก็จะได้ปริมาตรตามต้องการ (ภาพที่ 29)
สำหรับภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคำนวณต่างๆเหล่านี้ จะทำงานอยู่บน Java นะครับ ดังนั้นในการเข้าใช้งานตัวโปรแกรมเข้าเว็บจะต้องติดตั้ง Java Runtime เอาไว้ภายในด้วย ซึ่งด้วยข้อดีของ Java นี้เอง ทำให้เราสามารถเข้าใช้งานได้ทั้งจาก PDA, โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์พกพาตัวเล็กๆกะทัดรัดได้ ขอเพียงมี Java อยู่ในโปรแกรมเข้าเว็บก็ใช้งานได้ครับ ส่วนที่อยู่เว็บก็สามารถทำบุ๊กมาร์คเอาไว้เพื่อความสะดวกในการเข้าใช้ครับ
ส่วนเรื่องราวในฉบับนี้ก็เอากันแค่พอหอมปากหอมคอ ไว้ฉบับหน้าจะหาเรื่องราวเด็ดๆในเว็บมาให้เล่นกันอีกนะครับ โลกแห่งวิวัฒนาการไร้พรมแดนเหล่านี้ ช่วยให้เราสามารถแก้ไข ตีโจทย์ และไขปัญหาหลายๆด้านที่ลึกลับของโลกเครื่องเสียงรถยนต์ได้อย่างทันท่วงทีเลยทีเดียว สวัสดีครับ