ตู้ซับเบสแบบปิด(Closed Boxes)
- วันที่: 28/04/2010 16:27
- จำนวนคนเข้าชม: 32895
ตู้ซับเบส”แบบปิด” มีลักษณะเป็นตู้ปิดทึบแบบสมบูรณ์ มีห้องกักอากาศเพียงห้องเดียวและไม่มีท่อระบายหรือกรวยช่วยกระจายเสียงเบส เป็นตู้ซับเบสที่ง่ายต่อการจัดสร้างและมีขนาดหรือสัดส่วนของตู้เล็กกว่าตู้ แบบอื่นๆ
เป็นตู้ซับเบสที่สามารถละเลยความแปรปรวนทางค่าปัจจัยของซับวูฟเฟอร์ จึงเป็นทางเลือกที่ดีเมื่อต้องจัดสร้างตู้ซับเบสสำหรับซับวูฟเฟอร์ที่ไม่รู้ ค่าปัจจัยที่แน่นอน ตู้ซับเบสแบบปิดจะมีความลาดชันของการตัดความถี่ต่ำในลำดับที่สองหรือ 12 dB/Oct ตามภาพอธิบาย
ด้วยเพราะมันยังมีอัตราการตัดเสียงออกอยู่ด้วย, ตู้ซับเบสแบบปิดจึงยังมีการเลื่อนของเฟสอยู่บ้าง และโดยปกติไม่มากเกินไปกว่า 180 องศาที่ความถี่ต่ำ ซึ่งถูกจำกัดโดยผลการตอบสนองเสียง(ดูกราฟเปรียบเทียบ) นั่นหมายความว่าคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่ถูกผลิตขึ้นโดยตัวลำโพงจะมีค่าความ ล้าหลังไม่มากไปกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น และมันยังหมายถึงว่าให้ผลตอบสนองฉับพลันที่ความถี่ต่ำได้ดีกว่า นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมนักเล่นส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าตู้ซับเบสแบบปิด สามารถให้เสียงได้ถูกต้องมากที่สุด
อัตราการตัดเสียงที่ความลาดชัน 12 dB/Oct ของตู้ซับเบสแบบปิด ถือว่าเข้าคู่กันได้ดีกับการใช้งานในรถยนต์ เมื่อต้องการการตอบสนองของเสียงที่ราบเรียบ เพราะว่ารถทั่วไป, รถกระบะและรถแวนมันจะมีการตอบสนองทางสภาพเสียงที่พุ่งขึ้น ณ ความถี่ประมาณ 50Hz ในอัตรา 12 dB/Oct ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเลือกใช้ตู้ซับเบสแบบปิดที่เสริมเสียงกับผลตอบสนอง ทางสภาพเสียงของรถคันนั้นพอดี
ในภาพตัวอย่าง, ตู้ซับเบสแบบปิดจะให้การตอบสนองลดลงที่ 12 dB/Oct ในขณะเดียวกันนั้นสภาพเสียงพื้นฐานของรถก็เริ่มเพิ่มขึ้น 12 dB/Oct ทำให้เกิดผลการตอบสนองของคลื่นที่ราบเรียบสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้, การขยับตัวของกรวยและความร้อนที่เป็นข้อจำกัดของลำโพงตามการรองรับกำลังขับ จะยังคงสามารถสนองตอบได้ในระดับกำลังสูงมาก
ตู้ซับเบสแบบปิดรองรับกำลังวัตต์ได้มากกว่า หรือน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตู้ซับเบสแบบเปิดหรือแบบมีกรวยช่วยระบายเบส? ความเพี้ยนทางเชิงเส้นน้อยกว่าหรือมากกว่า? ประสิทธิภาพมากกว่าหรือน้อยกว่า? แบบปิดเสียค่าใช้จ่ายในการทำมากกว่าหรือน้อยกว่า? คำถามต่างๆเหล่านี้แม้จะดูว่ามีความสำคัญแต่บางครั้งก็ยากที่จะให้คำตอบได้ อย่างเช่น คุณสมบัติของตู้ซับเบสแบบปิดบางตัวก็รับกำลังวัตต์ได้มาก ในขณะที่อีกตัวหนึ่งอาจรับกำลังวัตต์ได้น้อยกว่า ความซับซ้อนของคำตอบจึงอยู่ที่งานออกแบบเป็นส่วนใหญ่
คุณสมบัติสองด้านที่มีส่วนทำให้ตู้ซับเบสแบบปิดมีข้อได้เปรียบในด้านการ รองรับกำลังวัตต์: ข้อแรก, ตัวตู้ปราศจากช่องระบายอากาศหรือพืนที่ส่วนของกรวยช่วยระบาย, ตัวลำโพงที่ติดตั้งอยู่กับตู้ปิดจะไม่มีโอกาสเกิดลักษณะ”รับกำลังเกิน”ไป กว่าความถี่ก้องสะท้อนของตู้ ดังนั้นมันจึงสามารถรองรับกำลังขับได้มากกว่าที่ความถี่ต่ำก่อนที่จะถึงขีด จำกัดของระยะขยับตัวของกรวย ข้อสอง: ลำโพงที่ติดตั้งในตู้ปิดจะมีแรงต้านทางไฟฟ้าได้สูงที่จุดตัดของความถี่ มากกว่าตู้แบบเปิดหรือตู้แบบมีกรวยช่วยระบายเบส มันจึงสามารถรองรับกำลังวัตต์ของเพาเวอร์แอมป์ได้ ก่อนที่วอยซ์คอยล์จะถึงขีดจำกัดทางความร้อนของตัวมันเอง
อย่างไรก็ตาม, ปัญหาของการ”รับกำลังเกิน”ที่ถือเป็นปัญหาอันดับแรกนั้นได้ถูกเอาชนะได้ โดยวงจรกรองเสียงแบบผ่านเฉพาะความถี่สูงหรือซับโซนิค-ฟิลเตอร์ ที่สามารถนำมาใช้กับตู้ซับเบสแบบเปิดหรือแบบมีกรวยช่วยระบายเบส ซึ่งเมื่อทำเช่นนี้ อัตราการตัดเสียง 12 dB/Oct ของตู้แบบปิดก็จะเป็นเหตุให้มันรองรับกำลังวัตต์ได้น้อยกว่าอัตราการตัด เสียงในช่วงความถี่ที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับตู้แบบเปิดหรือตู้แบบมีกรวยช่วยระบายเบส อัตราการตัดเสียงนี่เอง ที่เป็นเหตุให้กรวยของลำโพงสามารถขับเคลื่อนไปได้ในระยะที่มากกว่าในช่วง ความถี่ต่ำ ซึ่งมันสามารถขยับเกินขีดจำกัดที่ระดับกำลังขับต่ำๆได้มากกว่าตู้ซับเบสแบบ เปิดหรือแบบมีกรวยช่วยระบายเบส ความต้องการของการระยะขยับกรวยที่มากกว่านี้หมายถึงว่าตู้ซับเบสแบบปิดจะ ต้องใช้ลำโพงที่มีค่า Xmax มากกว่ากว่าลำโพงที่จะนำไปใช้กับตู้แบบเปิดหรือตู้แบบมีกรวยช่วยระบายเบส
มีอยู่สองเรื่องที่สามารถทำให้ความเพี้ยนทางเชิงเส้นของลำโพงเพิ่มมาก ขึ้น คือระยะชักของกรวยที่สั้นกว่าปกติและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของวอยซ์คอยล์ การค้นคว้าล่าสุดพบว่าอัตราการตัดเสียงออกของตู้เบสแบบปิดสามารถนำไปสู่การ ขยับกรวยได้มากกว่าแต่ก็ยังรองรับกำลังวัตต์ได้ต่ำกว่า แต่ที่มันยังสามารถสร้างความเพี้ยนทางเชิงเส้นได้สูงกว่าเป็นเพราะระบบแม่ เหล็กของลำโพงนั้น จะทำการควบคุมอยู่เหนือวอยซ์คอยล์เพียงเล็กน้อยภายในช่องว่างนั้น โชคดีตรงที่ตู้ซับเบสแบบปิดมีความได้เปรียบในข้อที่สอง คือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของวอยซ์คอยล์ ความต้านทานของวอยซ์คอยล์(Re)จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นและเป็น ประโยชน์มาก โดยปกติสิ่งนี้จะเป็นผลมาจากคุณสมบัติต่างๆของลำโพงวูฟเฟอร์ อาทิค่าคุณภาพทางไฟฟ้า(Qes), ความเข้มแข็งของโครงสร้าง(BL) และประสิทธิผล(ho) ด้วยว่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้าของตู้แบบปิดปกตินั้นจะมีความถี่สูงกว่า เมื่อเทียบกับตู้แบบเปิดหรือแบบมีกรวยช่วยระบาย วอยซ์คอยล์ของลำโพงวูฟเฟอร์จึงยังไม่เกิดความร้อนสูงกับความร้อนเพียงเล็ก น้อย นั่นคือมีความเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิน้อยกว่า และลำโพงวูฟเฟอร์ที่ติดตั้งในตู้แบบปิดจะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงความไม่เป็น เชิงเส้นเพียงเล็กน้อย
การผลิตคลื่นที่จุดตัดความถี่ต่ำ(F3)ของตู้ปิดเมื่อเทียบกับตู้เปิดหรือ ตู้มีกรวยช่วยระบายนั้น ลำโพงที่ติดตั้งกับตู้แบบปิดมักจะให้การก้องสะท้อนทางความถี่ต่ำ(Fs)ได้ มากกว่า นั่นหมายถึงลำโพงวูฟเฟอร์นั้นจะมีมวลของการเคลี่อนตัว(Mms)ที่มากกว่าและนี่ คือเหตุผลของข้อด้อยสองข้อ ข้อแรก:มวลของการเคลื่อนตัวที่เพิ่มขึ้นนั้นปกติจะทำให้ตู้แบบปิดมี ประสิทธิผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตู้แบบอื่นๆ ข้อสอง: มวลของการเคลื่อนตัวที่เพิ่มขึ้นจะไปจำกัดการตอบสนองความถี่ช่วงบน(ช่วง เสียงกลาง)ของลำโพงวูฟเฟอร์ จะสังเกตุได้ว่าตู้ลำโพงแบบเสียงรวมส่วนใหญ่ที่เป็นตู้ปิดมักจะต้องมีตัวขับ เสียงกลาง มาช่วยต่อเสียงกลางให้กับทวีตเตอร์ แต่ถ้าหากเป็นในแง่ของการใช้งานเป็นตู้ซับเบสแล้วสิ่งนี้กลับ(เป็นข้อ เด่น)ให้ประโยชน์มากกว่า