เทคนิคการวัดกำลังวัตต์ทำงานจริง ในเพาเวอร์แอมป์ แบบที่ 1
- วันที่: 08/11/2014 16:06
- จำนวนคนเข้าชม: 20323
ต้องจำไว้ว่าพื้นฐานของกำลังวัตต์ที่ปรากฏกับเพาเวอร์แอมป์ ก็คือ ไฟ AC ที่วัดได้ยกกำลังสองแล้วหารด้วยอิมพีแดนซ์(หรือโหลดภาระ)
โดยในการวัดเราจะใช้ดิจิตอลมิเตอร์ ตั้งย่านการวัดที่ไฟ AC ในสเกลแรงดันไฟที่เหมาะสม (โดยทั่วไปประมาณ 200 V AC) แล้วจิ้มเข็มวัดไปที่ขั้วที่สายลำโพงต่ออยู่กับเพาเวอร์แอมป์ (ขณะวัดต้องมีลำโพงหรือดอกซับฯ หรือโหลดภาระต่ออยู่ด้วย)
จากนั้นใช้สัญญาณ Sine Wave ความถี่ 60 Hz เป็นสัญญาณเสียงป้อนเข้าไปที่เพาเวอร์แอมป์ ปรับเลเวล-แมทชิ่งให้เหมาะสม ด้วยวิธีการใดๆก็ได้ เพิ่มวอลลุ่มความดังไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดตามที่ปรับเลเวล-แมทชิ่งเอาไว้
ในตัวอย่าง สมมุติวัดไฟได้ที่ 33 โวลต์-เอซี และใช้ซับวูฟเฟอร์ 12 นิ้ว วอยซ์คู่(วอยซ์ละ 4 โอห์ม) ต่อคร่อมวอยซ์คอยล์เหลืออิมพีแดนซ์ที่ 2 โอห์ม ที่ต่อกับขั้วเอาท์พุทของเพาเวอร์แอมป์ จึงคำนวณได้ดังนี้
33 x 33 = 1089
1089/2 = 544.5 วัตต์สูงสุด(พีค)
จากตัวอย่างค่าที่ได้เป็น “กำลังวัตต์พีค” หรือ “กำลังวัตต์พลวัติ” แต่เพราะในเรื่องของเสียงดนตรีแล้วเราจะต้องการ “กำลังวัตต์ต่อเนื่อง” หรือวัตต์จริงมากกว่า ซึ่งก็หาได้โดยการคูณจำนวนวัตต์พีคนั้นด้วยค่า 0.707 ก็จะได้ค่า “กำลังวัตต์ต่อเนื่อง” หรือ “กำลังวัตต์ RMS”
จากตัวอย่างก็จะได้เป็น 544.5 x 0.707 = 384.96 วัตต์ RMS