Classes of Amplifiers
- วันที่: 15/06/2010 12:06
- จำนวนคนเข้าชม: 9119
คนทั่วไปมักคิดว่าเพาเวอร์แอมป์จะให้การทำงานเต็ม 100% เมื่อป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความจริงเพาเวอร์แอมป์มีการสลายกำลัง(ในรูปแบบของความร้อน) และมีความผิดเพี้ยนในระดับสัญญาณเสียง เป็นปัจจัยหลักสองปัจจัยที่มีผลกับประสิทธิภาพทำงานของเพาเวอร์แอมป์ การออกแบบวงจรเพาเวอร์แอมป์จึงต้องเลือกระดับชั้นในการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ และแต่ละระดับชั้นนั้นก็มีคุณสมบัติที่เป็นประสิทธิภาพเฉพาะตัว
- Class A amplifiers ถูกกำหนดไว้เพื่อคุณภาพของเสียงที่สูงสุด แต่ด้วยเหตุที่มันมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด เพาเวอร์แอมป์คลาส-เอจึงไร้ประสิทธิผลและร้อนในขณะทำงาน เพราะว่าแม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์เอาท์พุทก็ยังคงมีกระแสไหลผ่านตัวมันตลอด กระแสที่ไหลผ่านตลอดเวลานี้เองที่ทำให้เกิดความร้อนโดยไม่จำเป็น และ “สูญเสีย” พลังงานไปอย่างมาก เพาเวอร์แอมป์ในยุคหลังๆจึงมักใช้วงจรคลาส-เอที่เป็นวงจรผสมของ Class A/Class AB เพื่อลดปัญหาความร้อน
- Class AB amplifiers เป็นการออกแบบ ที่ยอมให้เอาท์พุททรานซิสเตอร์มีกระแสไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา ในระดับต่ำมากๆ จึงให้ประสิทธิผลที่มากกว่าคลาส-เอ โดยที่มีความผิดเพี้ยนต่ำและมีความน่าเชื่อถือสูง
- Class D amplifiers เป็นการใช้เอาท์พุทรานซิสเตอร์ทำงานแทนสวิทช์ เพื่อควบคุมการป้อนจ่ายกำลัง โดยทรานซิสเตอร์จะหยุดทำงานเมื่อมีแรงดันไฟปริมาณมากๆตกคร่อมอยู่ที่ตัวมัน วงจรครลาส-ดีจึงให้ประสิทธิผลสูงสุด การทำงานมีความร้อนต่ำสุด และให้การไหลของกระแสได้มากกว่าวงจรคลาส-เอบี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ดีจะมีความผิดเพี้ยนสูงกว่าคลาส-เอบี เนื่องจากการปิด/เปิดอย่างรวดเร็วของทรานซิสเตอร์ แต่ก็มักเกิดขึ้นที่ย่านความถี่สูง ดังนั้นโดยปกติมักจะใช้การกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน
- Class T amplifiers เป็นการใช้การจัดเรียงคลื่นเสียง โดยใช้ข้อเด่นของวงจรคลาส-เอบี ผสมเข้ากับประสิทธิภาพทางกำลังที่สูงและการทำงานที่มีความร้อนน้อยของคลาส-ดี เพาเวอร์แอมป์คลาส-ทีจึงสามารถให้กำลังวัตต์ที่สูงกว่าเป็น 2-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกันในขนาดเท่าๆกันของเพาเวอร์แอมป์คลาส-เอบี