• Rocket Sound I Call Center 0-2792-9999 I Line ID : rocketsound I Facebook : RocketSoundThailand I Instagram : Rocketsound_Thailand
 

ส่วนประกอบของลำโพง

  • วันที่: 05/02/2016 13:47
  • จำนวนคนเข้าชม: 16365

ส่วนประกอบของลำโพง

 

ในลำโพงแต่ละตัว จะมีส่วนประกอบสำคัญที่ควรทำความรู้จัก เพื่อให้ได้เข้าใจถึงการทำงาน ส่วนประกอบสำคัญเหล่านี้ หากเลือกใช้วัสดุได้อย่างถูกต้อง จะมีผลทำให้ได้คุณภาพของเสียงที่ดีด้วยเช่นกัน

ส่วนประกอบหลัก ประกอบด้วย

*กรวยลำโพง หรือไดอาแฟรม

สามารถทำขึ้นจากวัสดุหลากหลายชนิด มีหน้าที่ดูดผลัก ให้เกิดคลื่นเสียง

*หมวกปิดกรวย หรือดัสแค็ป (Dust cap)

ปิดเพื่อป้องกันฝุ่นฝงเข้าไปในวอยซ์คอยล์

*ขอบยึดกรวย หรือขอบไดอาแฟรม (Surround)

ช่วยประคองความยืดหยุ่นที่แม่นยำ ในขณะที่กรวยลำโพงเคลื่อนที่เข้าออก 

*แฟรมลำโพง หรือบาสเก็ต (Basket) 

เป็นโครงสร้างหลักของลำโพง มักใช้วัสดุที่เบา แต่มีความแข็งแกร่ง

*คอยล์เสียง หรือวอยซ์คอยล์ (Voice Coil)

เป็นกลุ่มขดลวด ที่พันบนรอบแกนทรงกระบอก ยึดตึดด้วยสไปเดอร์

*ลอนยึดคอยล์ หรือสไปเดอร์ (Spider)

เป็นแผ่นกลมทรงวงแหวน ทำหน้าที่ประคองคอยล์เสียงให้ขึ้น_ลง เป็นแนวเส้น ไม่เบี่ยงเบน

*แม่เหล็กแบบถาวร (Magnet)

มีลักษณะเป็นวงแหวนหรือตามการออกแบ มีหน้าที่ให้พลังงานแม่เหล็ก เพื่อการเคลื่อนตัวของวอยซ์คอยล์ ตามกระแสสัญญาณเสียง

*ทีโย้ค (T-yoke)

เป็นแผ่นโลหะกลม ที่มีแกนในขนาดเล็กกว่ายื่นออกมา เพื่อสอดเข้าไปในแกนวอยซ์คอยล์ ควบคุมการเคลื่อนตัวของวอยซ์คอยล์

 

ลำโพงทำงานอย่างไร

 

เมื่อกรวยของลำโพงมีการเคลื่อนที่ (ดูดเข้า-ผลักออก) มวลอากาศที่อยู่โดยรอบบริเวณด้านหน้ากรวย จะถูกบีบอัดและคลายตัวเป็นจังหวะที่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดคลื่นอากาศที่เรียกกันว่า ”คลื่นเสียง” (sound wave) การบีบอัดและคลายตัวของมวลอากาศนี่เอง ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้นำสารที่เป็น ”เสียง” จากลำโพงไปสู่หูคนฟัง ลำโพงส่วนใหญ่จะทำการแปรเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าไปสู่พลังงานเสียง ซึ่งทำให้เกิดเป็นจริงเป็นจังได้โดยการออกแบบส่วนที่เรียกว่า ”กลุ่มขดลวดเคลื่อนตัว” (moving coil) สัญญาณไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นลวดที่อยู่รอบๆกลุ่มขดลวด และกลุ่มขดลวดนั้นถูกติดตั้งเอาไว้ในสนามแม่เหล็กอีกทีหนึ่ง

กระแสสลับ(คลื่นสัญญาณเสียง) ที่ไหลผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก ก่อเกิดปฎิกริยา ทำให้กลุ่มขดลวดมีการเคลื่อนที่ มีผลให้กรวย(หรือไดอาแฟรม) มีการขยับตัวตามไปด้วย ในลักษณะของการผลักไปด้านหน้าและดึงกลับมาด้านหลัง สลับไป-มาจนทำให้เกิดเป็น ”เสียง”